นโยบายประมงของอินโดนีเซีย

นโยบายประมงของอินโดนีเซีย

นโยบายประมงของอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินของประเทศอย่างยั่งยืนในภาพรวม

เพื่อเร่งพัฒนาความยั่งยืนของระบบนิเวศ และกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคธุรกิจทางทะเลและประมง เนื่องจากอินโดนีเซียมีศักยภาพด้านทรัพยากรสัตว์น้ำมากกว่า 12 ล้านตันต่อปี แต่อัตราการจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ราว 6 ล้านตันต่อปี โดยมีโครงการสำคัญ 5 โครงการ ได้แก่ การขยายพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล การจัดสรรพื้นที่และโควตาการทำประมง (PIT) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (สินค้าประมงหลักของอินโดนีเซียมี 5 รายการ ได้แก่ กุ้ง สาหร่ายทะเล ปลานิล ปู และกุ้งล็อบสเตอร์) การติดตามและควบคุมพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะขนาดเล็ก และการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังพยายามสร้างความร่วมมือด้านประมงกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เวียดนาม และติมอร์เลสเต ควบคู่ไปกับการดึงดูดการลงทุนในด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ปัจจุบันยุโรปเป็นตลาดส่งออกสินค้าสัตว์น้ำอันดับ 1 ของอินโดนีเซีย (ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ของสินค้าที่ผลิตได้) รองลงมาคือจีน (ประมาณร้อยละ 20-30) และญี่ปุ่น (ประมาณร้อยละ 10)

ลำดับ สินค้าประมง ส่วนแบ่งตลาดโลก
ปี 2565 (ร้อยละ)
มูลค่าการส่งออก ปี 2566
(ล้าน USD)
1 กุ้ง 6.7 60,400
2 สาหร่ายทะเล 16.4 16,700
3 ปลานิล 9.7 13,900
4 ปู 1.9 879
5 กุ้งล็อบสเตอร์ 0.5 7,200

ปัจจุบันการเตรียมความพร้อมการนโยบายการจัดสรรพื้นที่และโควตาการทำประมง (PIT) เป็นภารกิจหลักของกระทรวงประมงอินโดนีเซียที่ได้รับการจับตามองจากสาธารณชนและภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างชาติที่ต้องการรับสัมปทาน โดยข้อมูลของโนบายปัจจุบันคือการแบ่งพื้นที่จัดการประมงออกเป็น 6 โซน ดังนี้

โซน พื้นที่ตั้ง
711 น่านน้ำช่องแคบการีมาตา และทะเลนาทูนาเหนือ
716
717
ทะเล Sulawesi และตอนเหนือของเกาะฮัลมาเฮรา
อ่าวเชนดราวาซิฮ คาบมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก
715
718
714
น่านน้ำอ่าวโตมินิ ทะเลมาลูกู ทะเลฮัลมาเฮรา ทะเลเซรัม และอ่าวบีราว
ทะเล Aru ทะเล Arafura และทะเล Timor ตะวันออก
น่านน้ำอ่าวโตโล และทะเลบันดา 10
572
573
น่านน้ำมหาสมุทรอินเดียทางจตะวันตกของเกาะสุมาตรา และช่องแคบซุนดา
น่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย ตอนใต้ของเกาะชวาจนถึงตอนใต้ของเกาะนุสาเตงการา ทะเลซาวู ทะเลติมอร์ทางตะวันตก และทะเลน้ำลึกมหาสมุทรอินเดีย
571 น่านน้ำช่องแคบมะละกา และทะเลอันดามัน
712
713
น่านน้ำทะเลชวา
น่านน้ำช่องแคบมกาซาร์ อ่าวโบเน ทะเลฟลอเรส และทะเลบาหลี

อย่างไรก็ดี โดยที่ปัจจุบันนโยบายดังกล่าวยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนถึงแนวทาง การดำเนินงาน การจัดการ และแนวทางการแบ่งสรรทรัพยากรธรรมชาติระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประมงรายใหญ่กับรายย่อย ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศเลื่อนการบังคับใช้นโยบายดังกล่าวออกไปเป็นในช่วงต้นปี 2568 เพื่อขยายระยะเวลาการหารือ และสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและศึกษาวิจัยด้านวิชาการต่าง ๆ ประกอบการกำหนดนโยบาย รวมถึงการทดลองดำเนินนโยบายดังกล่าวโดยยังไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบการ




Back to the list