เศรษฐกิจรายสาขา

๑. ภาพรวมพลังงานทดแทนอินโดนีเซีย

๑.๑ ปัจจุบันอินโดนีเซียพึ่งพาพลังงาน fossil fuel จำพวก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อย่างมาก (ร้อยละ ๖๓)
ซึ่งร้อยละ ๔๐ ของน้ำมันที่บริโภคในอินโดนีเซียนำเข้าจากต่างประเทศ อินโดนีเซียจึงตั้งเป้าปรับสัดส่วนการใช้พลังงาน โดย ปธน. ได้ออกประกาศในปี ๒๐๐๖ ตั้งเป้าว่าภายในปี ๒๐๒๕ อินโดนีเซียจะปรับสัดส่วนไปใช้พลังงานทดแทนร้อยละ ๑๗ (National Energy Mix) และต่อมาได้พยายามเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนขึ้น โดยประกาศ Vision 25/25 (อย่างไม่เป็นทางการ) มุ่งเป้าให้ใช้พลังงานทดแทนร้อยละ ๒๕

National Energy Mix Plan

  ปัจจุบัน ปี ๒๐๒๕ เป้าหมายตาม Vision 25/25
น้ำมัน ร้อยละ ๔๑.๗ ร้อยละ ๒๐ ร้อยละ ๒๐
ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ ๒๐.๖ ร้อยละ ๓๐ ร้อยละ ๒๓
ถ่านหิน ร้อยละ ๓๔.๖ ร้อยละ ๓๓ ร้อยละ ๓๒
พลังงานทดแทน ร้อยละ ๓.๑ ร้อยละ ๑๗ ร้อยละ ๒๕

๑.๒ อินโดนีเซียมีศักยภาพที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนเพราะมีพืชพลังงานหลายชนิด
เช่น ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย แต่รัฐบาลไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง จึงทำให้ใช้ศักยภาพการผลิต (capacity) ของ biodiesel ไปเพียงร้อยละ ๑๐ ในขณะที่ bioethanol ใช้ไปเพียงร้อยละ ๑ การอุดหนุน fossil fuel ทำให้ biofuel แข่งได้ยาก ซึ่งหากส่งเสริมอย่างจริงจัง คาดว่า อาจผลิต biofuel ได้ที่ราคาประมาณ ๔,๕๐๐ รูเปียห์/ลิตร ซึ่งเป็นราคาเดียวกับน้ำมันอุดหนุน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการ ๗ (พลังงาน) สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รัฐก็อุดหนุน biofuel จากน้ำมันปาล์มที่ประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๕๐๐/ลิตร แต่หากจะส่งเสริม biofuel อย่างจริงจังก็อาจต้องขยายไปยังพืชอื่นๆ ด้วย

๑.๓ สถิติสะท้อนว่า กำลังผลิตพืชน้ำมันของอินโดนีเซียมีเพียงพอ แต่ยังขาดการส่งเสริม
เพราะในภาพรวมพลังงานทั้งหมด อินโดนีเซียใช้พลังงานไปกับการขนส่ง ๓๑.๗ ล้านกิโลลิตร / ไฟฟ้า ๗.๖ ล้านกิโลลิตร KEROSENE ๑๐ ล้านกิโลลิตร ซึ่งเฉพาะภาคขนส่งที่ต้องการพลังงาน ๓๑.๗ ล้านกิโลลิตร ขณะนี้ใช้น้ำมันอุดหนุน (premium) ๑๘.๕๒๙ ล้านกิโลลิตร และน้ำมัน ADO/SOLAR ๑๒.๔ ล้านกิโลลิตร ซึ่งในขณะที่ ผลิตมันสำปะหลังได้ ๑๑ ล้านตัน และโมลาส (Molasses) ได้ ๖๐๐ ล้านตันแต่กลับผลิต bioethanol ได้เพียง ๑.๘๕ ล้านกิโลลิตร เช่นเดียวกับผลิตน้ำมันปาล์มได้ ๓๐.๒ ล้านตัน และน้ำมันสบู่ดำได้ ๓.๘๔ ล้านตัน แต่ผลิต Biodiesel ได้ ๑.๒๔ ล้านกิโลลิตร (จากความต้องการ ๑๒.๔ ล้านกิโลลิตร) ซึ่งหากสามารถเปลี่ยนมาใช้ bioethanol และ biodiesel แทนได้ ภาคขนส่งก็จะประหยัดพลังงานไปได้มหาศาล อย่างไรก็ตาม โครงสร้างภาษียังไม่เอื้อต่อการผลิตน้ำมันทางเลือกเพื่อการพาณิชย์ เพราะขณะนี้ เอทานอลที่ผลิตได้ในอินโดนีเซียถูกมองว่า เป็น "เครื่องดื่ม" เพราะชนชั้นล่างนำไปใช้ดื่มจึงทำให้อัตราภาษียังสูง นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรที่ใช้ผลิตเอธานอลยังผันผวน

๒. ประเด็นที่ไทยและอินโดนีเซียน่าจะส่งเสริมความร่วมมือ

ปัจจุบัน ผู้ผลิตเอทานอลไทยสามารถผลิตได้ประมาณ ๓ ล้านลิตร/วัน ในขณะที่ความต้องการบริโภคของไทยอยู่ที่ประมาณเพียง ๑.๕ ล้านลิตร/วัน จึงมีส่วนเกินมาก ซึ่งขณะนี้ อินโดนีเซียก็ต้องการเอทานอล แต่ยังผลิตไม่พอ ดังนั้น อินโดนีเซียจะสามารถเป็นตลาดระบายเอทานอลส่วนเกินของไทย โดยอาจเจรจาแลกเปลี่ยนกับน้ำมันปาล์มของ อินโดนีเซีย เพราะขณะนี้ อินโดนีเซียเพียงใช้น้ำมันปาล์มไปปรุงอาหารเท่านั้นจึงยังมีส่วนเกินมากพอส่งออก แต่ขณะนี้ ไทยขาดแคลนน้ำมันปาล์ม โดยเฉพาะในภาคพลังงาน ซึ่งน่าจะเป็นความร่วมมือที่ดี เพราะในอนาคตอินโดนีเซียก็จะต้องปรับโครงสร้างการใช้พลังงานไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น การหันไปใช้ Bioethanol หรือน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง


Source:  สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (พฤษภาคม 2555)

Back to the list