เศรษฐกิจรายสาขา
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียได้ออกประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ที่ 103/KPTS/KR.040/L/1/2016 ลงวันที่ 22 ม.ค. 2559 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการของไทย 9 แห่ง ซึ่งสามารถออกใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) สารตกค้างในพืช ผัก ผลไม้ ที่ส่งออกจากไทยไปยังอินโดนีเซีย โดยมีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการดังกล่าว 3 ปี นับจากวันที่ประกาศ ทั้งนี้ หน่วยงานกักกันพืช (Indonesia Agriculture Quarantine Agency – IAQA) ได้จัดทำเอกสารระบุประเภทสารตกค้างที่ต้องผ่านการตรวจสอบในผลิตผลเกษตรหลักของไทยที่ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 8 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง แคนตาลูป หอมแดง ข้าว และพริก
และเมื่อเดือน พ.ย. 2559 กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ได้ออกกฎกระทรวงฯ ที่ 55/PERMENTAN/KR.040/11/2016 ลงวันที่ 18 พ.ย. 2559 ว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับการนำเข้าสินค้าพืชอาหาร ซึ่งระบุรายละเอียดขั้นตอนการกำกับดูแลการนำเข้าสินค้าพืชอาหารในกรณีต่างๆ โดยปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังกล่าว สามารถออกใบรับรองการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในพืชอาหารจากไทยเพิ่มเป็น 13 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง แคนตาลูป หอมแดง ข้าว พริก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า และถั่วเขียว
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- รายการพืชอาหารและปริมาณสารตกค้าง/การปนเปื้อนสูงสุดที่ยอมรับได้ที่ห้องปฏิบัติการของไทยสามารถตรวจวิเคราะห์
- กฎกระทรวงเกษตร สาธารณรฐั อินโดนีเซีย เลขที่ 55/PERMENTAN/KR.040/11/2016
- PERATURAN MENTERI PERTANIAN REPUBLIK INDONESIA NOMOR 55/PERMENTAN/KR.040/11/2016