เศรษฐกิจรายสาขา

ความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย

1. อินโดนีเซียนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ 4 รายการ

รายการ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล และเนื้อวัว ใน 11 เดือนแรกของปี 66 สูงถึง 5 พันล้าน USD และนำเข้าน้ำตาล 4.55 ล้านตัน มูลค่า 2.54 พันล้าน USD โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 (ราว 48.82%)

2. รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นในปีนี้

โดยมีแผนจะนำเข้าข้าวจาก ต่างประเทศ 3 ล้านตัน และเพิ่มโควตานำเข้าน้ำตาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 เป็น 4.77 ล้านตัน (จาก 3.6 ล้านตันในปี 2566) อนึ่ง ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ไทย อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลทรายจากไทยในปี 66 มูลค่า 36,584.18 ล้านบาท และนำเข้าข้าวจากไทยในปี 2566 มูลค่า 25,480.18 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มโควตาการนำเข้าสินค้าทั้งสองรายการ จะเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการส่งออกมายัง อินโดนีเซีย เพิ่ม ทั้งนี้ ในส่วนของข้าวโพดนั้น การผลิตข้าวโพดใน ประเทศ ได้จำกัด ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์และการผลิตเนื้อไก่ใน อินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบเป็นห่วงโซ่ด้วย

3. อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำตาลอันดับ 3 ของโลก (รองจากสหรัฐฯ และจีน)

และมีแนวโน้มนำเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐบาลอินโดนีเซียชุดปัจจุบันมีนโยบายเน้นผลิตน้ำตาลให้เพียงพอต่อการบริโภคและใช้ภายในประเทศ (สำหรับการผลิตเอธานอล ฯลฯ) ก็ตาม โดยหากอินโดนีเซียจะต้องผลิตน้ำตาลให้ได้ปีละ 9.7 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 และต้องใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 1.18 ล้านเฮคตาร์ (ปัจจุบัน อินโดนีเซีย มีพื้นที่ปลูกอ้อยราว 489,000 เฮคตาร์ และมีโรงงานผลิตน้ำตาลเพียง 58 แห่งในประเทศ ซึ่งสามารถผลิตน้ำตาลป้อนตลาดภายใน ประเทศได้ไม่ถึงครึ่ง) รัฐบาลอินโดนีเซียจึงกำลังเร่งรัดการสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลเพิ่ม 10 แห่ง และพัฒนาพื้นที่ปลูกอ้อยและผลิตโรงงานน้ำตาลใน จ.ปาปัว 1.7 ล้านเฮกตาร์ เพื่อลดการนำเข้าน้ำตาล และพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ ด้วยการเชิญชวนประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำตาลมาลงทุน รวมถึงไทย

4. รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดพื้นที่เสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร

ซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่ 61 พื้นที่ (จาก 72 พื้นที่ในปี 2565) โดยมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับความท้าทาย 4 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชนิดพืชในการเพาะปลูก การลดลงของผลผลิตพืชอาหาร การฟื้นฟูเกษตรกรใช้เวลานานขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ปัจจุบัน อินโดนีเซีย มีแนวโน้มที่จะมีพื้นที่ทำเกษตรน้อยลงจากการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกเป็นพื้นที่อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ด้วย ทำให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแก้ไขส่วนหนึ่งด้วยการเพิ่มงบประมาณการอุดหนุนปุ๋ยแก่เกษตรกร


Back to the list