เศรษฐกิจรายสาขา
ข้าวเป็นสินค้าอุปโภคที่มี political sensitivity ในอินโดนีเซียสูง
เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เป็น ฐานเสียงทางการเมืองที่สำคัญของรัฐบาลอินโดนีเซีย และมักจัดการประท้วงการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เนื่องจากยังไม่สามารถแข่งขันด้านราคาและองค์ความรู้การปลูกข้าวกับต่างประเทศได้ ประกอบกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจปลายน้ำและการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ เพื่อผลักดันตนเองเป็นตลาดส่งออกอาหารในอนาคต ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียในยุคหลัง ๆ มีนโยบายชัดเจนในการลดการนำเข้าข้าว และพยายามผลักดันความมั่นคงทางอาหารและใช้นโยบาย self-sufficiency ในสินค้าข้าวมาโดยตลอด โดยจะนำเข้าข้าวในกรณีจำเป็นเท่านั้นและใช้ปัจจัยด้านราคาในการพิจารณาเป็นหลัก
ในปีนี้ (พ.ศ. 2567) อินโดนีเซียประสบปัญหาการผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ และการรักษาปริมาณในคลังข้าวสำรองจากภาวะแล้งที่เป็นผลกระทบจากปรากฎการณ์ El Nino ทำให้ต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ควบคู่กับการดำเนินการพัฒนาแหล่งเพาะปลูกและเทคโนโลยีทางเกษตร โดยมีการขยับโควตาการนำเข้าข้าวมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนล่าสุดโควตาการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในปี 2566 อยู่ที่ 3.8 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันนำเข้ามาแล้ว 3.3 ล้านตัน
รัฐบาลอินโดนีเซียได้กำหนดโควตานำเข้าข้าวในปี 2567 ไว้เบื้องต้นที่ 2 ล้านตัน เนื่องจากประเมินว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้มากที่สุด 10 ล้านตันในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวสำหรับบริโภคใน ปท. (รวมทั้งปี 2567 ประมาณ 32 ล้านตัน) แต่ก็อาจมีการปรับขึ้นอีก จากการประเมินว่าช่วงที่อินโดนีเซียจะเก็บเกี่ยวข้าวได้มากที่สุด จะเลื่อนจากเดือน มี.ค. - เม.ย. 2567 เป็นช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2567 จากปรากฎการณ์ El Nino