เศรษฐกิจรายสาขา


1. การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย Harmonization of Tax Regulation Law (UU HPP) ของอินโดนีเซีย

ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ในยุคของรัฐบาลนายโจโก วิโดโด โดยกำหนดให้เพิ่ม VAT จาก 10% เป็น 11% ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และจาก 11% เป็น 12% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งได้รับการยืนยันจากรัฐบาลอินโดนีเซียแล้วว่าจะดำเนินมาตรการดังกล่าวโดยไม่เลื่อนกำหนดอีก

2. เหตุผลของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว

เพื่อเร่งเพิ่มรายได้แผ่นดินและความคล่องตัวทางการเงิน การคลังของอินโดนีเซียเนื่องจากนโยบายต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการคุ้มครองทางสังคมแก่กลุ่มต่าง ๆ (กฎหมายดังกล่าวออกมาในช่วง COVID-19 และช่วงที่มีการประกาศเร่งรัดการก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ (IKN) ในระยะแรก ๆ) และถึงแม้ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนีเซียชุดใหม่จะเข้ารับตำแหน่งแล้ว แต่ก็มีโครงการที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการอาหารกลางวันฟรี และการสานต่อโครงการก่อสร้าง IKN

3. ตามกฎของรัฐบาลอินโดนีเซีย

ที่เผยแพร่ในปัจจุบัน สินค้าที่จะอยู่ในข่ายการเก็บภาษี VAT 12% สินค้าและบริการประเภทฟุ่มเฟือย (luxury goods and services) เท่านั้น อาทิ เรือยอชต์ เครื่องบินส่วนตัว อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ จักรยานยนต์ ฯลฯ ที่มีมูลค่า 3 หมื่นล้านรูเปียห์ (ประมาณ 1.85 ล้าน USD) หรือมากกว่า และอยู่ในข่ายเสียภาษีสินค้า/บริการฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกฎกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย PMK ที่ 131/2024 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งไม่ได้ยกเลิกกฎหมาย Harmonization of Tax Regulation Law (UU HPP) ที่ระบุให้ขึ้น VAT เป็น 12% แต่ระบุวิธีการคำนวนภาษีสำหรับสินค้า/บริการฟุ่มเฟือย และสินค้า/บริการอื่น ๆ ไว้เพื่อให้ ประชาชนยังสามารถจ่ายเงินเท่าเดิมในทางปฏิบัติเสมือน VAT ยังคงอยู่ที่ 11% แม้ VAT จะเพิ่มขึ้นเป็น 12% ตามกฎหมาย ดังนี้

ระหว่างวันที่ 1 - 31 ม.ค. 2568 ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2568 เป็นต้นไป
สินค้า/บริการฟุ่มเฟือย คิดภาษี VAT 12% จากราคา 11/12 (11 ส่วน 12) ของสินค้า คิดภาษี VAT 12% จากราคาเต็มของสินค้า
สินค้า/บริการทั่วไป คิดภาษี VAT 12% จากราคา 11/12 (11 ส่วน 12) ของสินค้า

4. รัฐบาลอินโดนีเซียมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

จากการบังคับใช้ VAT 12% สรุปดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย นโยบายช่วยเหลือ
ประชาชนยากจน - รายได้ต่ำ

การอุดหนุน VAT จำนวน 1% สำหรับน้ำมันทำอาหาร แป้ง และน้ำตาลทรายขาว (industrial sugar)

การอุดหนุนข้าวและอาหาร จำนวน 10 กิโลกรัม/เดือน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 ล้านคน ระหว่างเดือน ม.ค. - ก.พ. 2568

การลดราคาค่าไฟ 50% สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟไม่เกิน 2,200 VA ระหว่างเดือน ม.ค. – ก.พ. 2568

ประชาชนรายได้ปานกลาง

การอุดหนุน VAT สำหรับการซื้อบ้านที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 พันล้าน รูเปียห์ หรือประมาณ 10.5 ล้านบาท

การอุดหนุน VAT สำหรับการซื้อรถ EV หรือรถไฮบริด

สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้สำหรับแรงงานที่มีรายได้ไม่เกิน 10 ล้านรูเปียห์/เดือน ในอุตสาหกรรมที่กำหนด

สิทธิประโยชน์ในกรณีตกงาน และสิทธิประโยชน์ในกรณีได้รับอุบัติเหตุเนื่องจากการปฏิบัติงาน

ภาคธุรกิจ

การขยายการบังคับใช้หลักเกณฑ์การจ่ายภาษีเงินได้ 0.5% ต่อ ในปี 2568 สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ลงทะเบียน กับรัฐบาลอินโดนีเซีย

การอุดหนุนดอกเบี้ยสำหรับการซื้อเครื่องจักรในอุตสาหกรรมประเภทที่กำหนด




Back to the list