เศรษฐกิจรายสาขา
เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มี.ค. 53 สภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นชอบต่อแผนโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของรัฐบาล และประธานคณะกรรมาธิการ 6 ของสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียซึ่งรับผิดชอบเรื่องพลังงาน เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้กล่าวว่า อินโดนีเซียอาจไม่สามารถพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่ออุปสงค์ภายในประเทศได้อีกต่อไปในอนาคต
รัฐบาลได้มอบหมายให้
(1) National Nuclear Energy Agency (Batan)
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการเตรียมการและแผนการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ และ
(2) Nuclear Energy Regulatory Agency (Bapiten)
เป็น Regulatory body สำหรับโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประเมินโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังประสบอุปสรรคในการพัฒนาโครงการในขั้นตอนต่อไปเนื่องจากติดขัดเรื่องกฎระเบียบเกี่ยวกับการให้ผู้ประกอบการดำเนินโครงการและการพิจารณาที่จะอนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของโครงการ รวทั้งการเปิดประมูลให้นักลงทุนที่สนใจดำเนินโครงการ
แผนการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นการดำเนินการตามนโยบายพลังงานแห่งชาติภายใต้กฎหมายฉบับที่ 17/2007 ที่กำหนดให้พลังงานนิวเคลียร์เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้พลังงาน (Energy mix) ในปี 2015-2019 โดยอินโดนีเซียกำลังวางแผนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาด 4,000 เมกกะวัตต์จำนวน 4 แห่งซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2017 และอินโดนีเซียคาดว่า ภายในปี 2025 ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นร้อยละ 2 ของอุปสงค์ของการใช้กระแสไฟฟ้าภายในประเทศ
นาย Hudi Hastowo, Chief of Batan ได้กล่าวในระหว่างการประชุม International Commission on Nuclear Non-Proliferation and Disarmament ณ กรุงจาการ์ตาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ว่า
- อินโดนีเซียเริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์โดยสันติวิธีตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา
- อินโดนีเซียมีเตาปฏิกรณ์ปรมาณูบันดุง (Bandung Reactor) ซึ่งใช้ low-enriched uranium สำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ทางการเกษตรและการแพทย์
- พลังงานนิวเคลียร์สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนา geothermal energy และในกระบวนการผลิต biofuel
นาย Fathan A Rasyid, Head of the Regional Development Planning Board กล่าวว่า ตำบล Melawi บนเกาะกาลิมันตันตะวันตกเป็นแหล่งแร่ธาตุยูเรเนียมจำนวนกว่า 25,000 ตันซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นระยะเวลา 150 ปี และโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกกะวัตต์ ก็น่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมให้กับท้องถิ่นซึ่งยังคงขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ภาคประชาสังคมหลายองค์กรยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า
- อินโดนีเซีย ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพราะอินโดนีเซียยังคงมีแหล่งพลังงานทดแทนหลายประเภท เช่น ถ่านหิน geothermal heat น้ำและลมที่สามารถใช้ประโยชน์ได้
- ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเกิดจากความล้มเหลวของรัฐบาลที่ส่งออกถ่านหินและก๊าซธรรมชาติไปยังต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าภายในประเทศ
- ความไม่ต่อเนื่องในการบริหารงานของรัฐบาลอาจเป็นปัจจัยทางการเมืองที่อาจกระทบต่อการเริ่มก่อสร้างโครงการในปี 2017 (รัฐบาลชุดปัจจุบันจะครบวาระในการบริหารประเทศในปี 2014)
Source: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (เมษายน 2553)