เศรษฐกิจรายสาขา
ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียเปิดเผยแผนการปรับค่าเงินสกุลรูเปียห์ว่ามีสาเหตุมาจากมูลค่าเงินสกุลรูเปียห์ในปัจจุบันที่ต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ (เงินรูเปียห์มีอัตราแลกเปลี่ยนต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐเกือบจะต่ำเป็นลำดับสุดท้าย) โดยขณะนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะปรับมูลค่าเงินลดลงโดยตัดเลยศูนย์ออกไปเป็นจำนวนเท่าใด
แผนการปรับค่าเงินดังกล่าวจะใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการดำเนินการเพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้น โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
- ระยะแรก (ปี 2011 - 2012) เป็นการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับทราบ
- ระยะที่สอง (ปี 2013 – 2015) เป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
- ระยะที่สาม (ปี 2016 – 2018) เป็นช่วงของการทะยอยเก็บคืนเงินรูเปียห์แบบเก่า
- ระยะที่สี่ (ปี 2019 – 2020) เป็นการใช้เงินรูเปียห์แบบใหม่
โดยที่สาธารณชนเกรงว่าการปรับค่าเงินสกุลรูเปียห์จะทำให้มูลค่าเงินรูเปียห์ต่ำลงดังเช่นที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับลดค่าเงินสกุลรูเปียห์ในช่วงปี 1960 นั้น ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียชี้แจงว่าแผนดังกล่าวไม่ใช่การปรับลดค่าเงินรูเปียห์ดังเช่นอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นจึงไม่ทำให้ค่าเงิน รูเปียห์ลดต่ำลง
Source: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (5 สิงหาคม 2553)