โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล Jokowi (National Strategic Projects)

1. ภูมิหลัง

ในปี 2559 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ออก พรฎ. (Presidential Decree) ที่ 3/2016 และคำสั่ง ปธน. (Presidential Instruction) ที่ 1/2016 เป็นกรอบทางกฎหมายให้ จนท. ที่เกี่ยวข้องใช้ในการเร่งรัดกระบวนการเวนคืนที่ดิน หรือแก้ไขกฎระเบียบย่อยอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา พร้อมระบุโครงการภายใต้ National Strategic Projects จำนวน 225 โครงการ กระจายตัวบนพื้นที่เกาะชวา 89 โครงการ (ร้อยละ 40) สุมาตรา 46 โครงการ (ร้อยละ 20) สุลาเวสี 28 โครงการ (ร้อยละ 12) กาลิมันตัน 24 โครงการ (ร้อยละ 11) บาหลีและนุสาเต็งการา 16 โครงการ (ร้อยละ 7) และปาปัว 13 โครงการ (ร้อยละ 6) และอีก 10 โครงการเป็นโครงการเชื่อมโยงหลายภูมิภาค

ที่มา : Committee for Acceleration of Priority Infrastructure Delivery


ประเภทโครงการประกอบด้วย การสร้างเขื่อน 60 โครงการ (ร้อยละ 27) ถนน 52 โครงการ (ร้อยละ 23) เขตอุตสาหกรรม 25 โครงการ (ร้อยละ 11) รถไฟ 19 โครงการ (ร้อยละ 8) สนามบิน 17 โครงการ (ร้อยละ 7) ท่าเรือ 13 โครงการ (ร้อยละ 6) ประปา 10 โครงการ (ร้อยละ 4) พลังงาน 7 โครงการ (ร้อยละ 3) ด่านชายแดน (National Border Posts) 7 โครงการ (ร้อยละ 3) โรงถลุงแร่ 6 โครงการ (ร้อยละ 3) ที่อยู่อาศัย 3 โครงการ (ร้อยละ 1) เกษตรกรรม/ประมง 3 โครงการ (ร้อยละ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศ 3 โครงการ (ร้อยละ 1) และไฟฟ้า 1 โครงการ

2. ความคืบหน้าของ National Strategic Projects

ปธน. Jokowi ได้แถลงความคืบหน้า ของโครงการต่างๆ ก่อนการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2560 ระบุว่า โครงการดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้ มากกว่าร้อยละ 40 ของโครงการทั้งหมดอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และร้อยละ 37 อยู่ในขั้นตอนการวางแผน อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ จาก 225 โครงการ มีเพียง 20 โครงการเท่านั้นที่เสร็จสิ้นลงแล้ว หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 9

สถานะ จำนวนโครงการ ร้อยละ
ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 20 9
เริ่มก่อสร้าง 94 42
อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญา 13 6
อยู่ในขั้นตอนวางแผน 83 37
ยกเลิกแล้ว 15 6
รวม 225 100

3. เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2560 นาย Darmin Nasution รมว. ประสานกิจการเศรษฐกิจอินโดนีเซียได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน

ระบุว่า ที่ประชุม ครม. อินโดนีเซียได้อนุมัติโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (National Strategic Projects) เพิ่มเติม 55 โครงการ และ 1 แผนงาน รวมคิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

4. ปธน. Jokowi ระบุด้วยว่า รัฐบาลจะไม่บรรจุโครงการใดๆ เพิ่มเติมอีกภายหลังจากนี้

เนื่องจากข้อกำหนดของ National Strategic Projects ระบุว่า โครงการต่างๆ จะต้องเริ่มก่อสร้างก่อนปี 2561 ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันมีวาระถึงปี 2562 เท่านั้น ดังนั้น รัฐบาลจะเร่งการดำเนินโครงการที่มีอยู่แล้วให้เสร็จสิ้นภายในปี 2562 นอกจากนี้ รบ. อซ. มีแผนที่จะนำเงินจากโครงการ Tax Amnesty มาใช้ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ด้วย นอกเหนือจากการระดมเงินลงทุนจากภาคเอกชน และเงิน งปม. ของภาครัฐ (ปี งปม. 2560 รัฐบาลได้ตั้ง งปม. รายจ่ายสำหรับโครงการเหล่านี้ไว้ประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)


Back to the list