ประเภทและรูปแบบของการลงทุนในอินโดนีเซีย
ประเภทของการลงทุน
การลงทุนจากต่างประเทศในอินโดนีเซียจะรวมถึงการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment: FDI) จะเป็นการลงทุนในระยะยาวในสินทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เครื่องมือ และโรงงาน เป็นต้น
ภายใต้กฎหมายการลงทุนปี 2007 กำหนดไว้ว่า การลงทุนโดยตรงของบริษัทต่างประเทศในอินโดนีเซีย นั้น รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การตั้งบริษัทตัวแทน (Representative Office: RO) และการลงทุนของบริษัทต่างประเทศ ทั้งการผลิต การค้า บริการและธุรกิจอื่น ๆ (Penanaman Medal Asing: PMA) บริษัทตัวแทนดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการขายตรง หรือมีการทำธุรกรรมซื้อ-ขายทางธุรกิจ เช่น การยื่นประมูล/ประกวดราคา การจัดจำหน่าย และการทำสัญญาทางธุรกิจใด ๆ ดังนั้น กิจกรรมจึงจำกัดเพียงเรื่องของการทำตลาด การทำวิจัยตลาด และการเป็นตัวแทนในการซื้อ และขาย
การลงทุนของบริษัทต่างประเทศ (PMA) เป็นรูปแบบทั่วไปของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการจะทำธุรกิจในอินโดนีเซีย ดังนั้น จึงสามารถจัดตั้งบริษัทได้ทั้งในรูปแบบของการร่วมทุน (Joint Venture) ระหว่างนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนอินโดนีเซีย หรือนักลงทุนต่างประเทศถือหุ้นร้อยละ 100 แม้ว่านโยบายเศรษฐกิจจะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐอื่น ๆ แต่การออกใบอนุญาตการลงทุนจะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของอินโดนีเซีย (Investment Coordinating Board: BKPM) อย่างไรก็ดีใบอนุญาตการลงทุนในบางภาคธุรกิจ เช่น การลงทุนในเรื่องพลังงานและเหมืองแร่ การธนาคาร ภาคการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารนั้นยังเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐอื่น ๆ เช่น กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ธนาคารแห่งอินโดนีเซีย และกระทรวงการคลัง เป็นต้น

การลงทุนในภาคพลังงานและเหมืองแร่
การลงทุนในภาคพลังงานและเหมืองแร่จะครอบคลุมใน 3 ภาคธุรกิจย่อย คือ ธุรกิจน้ำมัน ก๊าซและไฟฟ้า ธุรกิจเหมืองแร่และถ่านหิน และธุรกิจพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) โดยแต่ละภาคธุรกิจย่อยดังกล่าวจะมีกฎระเบียบเลขที่ 30 ปี 2007 เรื่องพลังงาน และกฎหมายเลขที่ 4 ปี 2009 เรื่องพลังงานความร้อนใต้พิภพ

การลงทุนในภาคเหมืองแร่และถ่านหิน
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2009 รัฐบาลได้ออกกฎหมายเลขที่ 4 เรื่องเหมืองถ่านหินและเหมืองแร่ ทดแทนกฎหมายเดิม คือ กฎหมายถ่านหิน เลขที่ 11 ปี 1967 กฎหมายฉบับใหม่ได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมถ่านหินในอินโดนีเซีย ทั้งในเรื่องของการจัดการและการอนุญาต รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของการบริการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในกฎหมายเหมืองถ่านหินและเหมืองแร่ คือ การเปลี่ยนแปลงจากหลักเรื่องสัญญา (Contract regime) เป็นระบบการออกใบอนุญาต โดยมีใบอนุญาต 7 ประเภท ที่กำหนดในกฎหมายใหม่ คือ ใบอนุญาตทำธุรกิจเหมืองแร่ (IUP) การสำรวจแร่ (Exploration IUP) การดำเนินการผลิตแร่ (Production Operation IUP) ใบอนุญาตทำเหมืองสาธารณะ (People's Mining License: IUP) ใบอนุญาตในธุรกิจเหมืองแร่พิเศษ (Special Mining Business License: IUPK) การสำรวจสำหรับเหมืองแร่พิเศษ และการดำเนินการผลิตสำหรับเหมืองแร่พิเศษ รัฐบาลจะเป็นผู้ออกกฎควบคุมและเป็นผู้ออกใบอนุญาตในการทำธุรกิจเหมืองแร่ โดยเมื่อมีความจำเป็นรัฐบาลก็จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกใบอนุญาตสำหรับภายใต้ระบบสัญญานั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและคู่สัญญา
บริษัทเหมืองถ่านหินต่างชาติจะอยู่ในบังคับของการกระจายหุ้น ภายใต้กฎหมายใหม่นั้นได้มีการปรับกฎเกณฑ์ในการกระจายหุ้นของบริษัทต่างชาติ โดยมาตรา 112 ข้อ 1 ได้กำหนดว่าหลังจากกำดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์เป็นเวลา 5 ปี ผู้ลงทุนต่างชาติที่ได้สัมปทานสิทธิ (BUMN) หรือบริษัทของหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น หรือบริษัทเอกชนของอินโดนีเซีย ทั้งนี้รัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในรูปของกฎระเบียบรัฐ (PP)
ผู้ถือสัมปทานสิทธิในเหมืองแร่จะต้องดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์แร่ภายในประเทศ โดยผู้ถือสิทธิสามารถแปรรูปเองหรือใช้บริการจากบริษัทอื่นที่มีใบอนุญาตแปรรูปหรือถลุงแร่ภายในประเทศก็ได้ สำหรับบริษัทเหมืองแร่ชาตินั้นจะไม่สามารถส่งออกแร่ดิบไปยังต่างประเทศได้

การลงทุนในภาคธุรกิจน้ำมันและก๊าซ
ภาคธุรกิจย่อยของน้ำมันและก๊าซนั้นได้มีการกำหนดหรือควบคุมในกฎหมายเลขที่ 22 ปี 2001 เรื่องกิจกรรมทางธุรกิจของอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำของน้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรมต้นน้ำจะรวมถึงการสำรวจและการแสวงหาประโยชน์ ส่วนอุตสาหกรรมปลายน้ำจะรวมถึงการแปรรูป การขนส่ง การจัดเก็บและการพาณิชย์
กิจกรรมของอุตสาหกรรมต้นน้ำจะถูกกำหนดตามระบบของสัญญาความร่วมมือ (Cooperation contract: KKS) ซึ่งจะมีผลเป็นระยะเวลา 30 ปี และอาจขยายได้อีก 20 ปี หน่วยงานที่มีอำนาจดูแลกิจกรรมต้นน้ำ คือ หน่วยงานบริหาร (Executive body) โดยสัญญาความร่วมมือ KKS จะมีการลงนามระหว่างหน่วยงานบริหารและบริษัท ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียจะกำหนดมิให้หน่วยงานบริหารหรือบริษัทมาเกี่ยวข้องในส่วนที่เกินกว่า 25% ของการผลิตสำหรับความต้องการในประเทศ สำหรับกิจกรรมปลายน้ำจะถูกกำหนดตามใบอนุญาตธุรกิจ และภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ
ก๊าซสำหรับอุตสาหกรรม
ก๊าซได้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญประเภทหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐวิสาหกิจซึ่งจำหน่ายก๊าซคือ PT.Perusahaan Gas Negara (PGN) จะเป็นผู้กำหนดปริมาณการผลิตและการแจกจ่ายก๊าซภายในประเทศ สำหรับราคาจำหน่ายก๊าซนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้งโดยราคาก๊าซในปัจจุบันคือ 4 เหรียญสหรัฐต่อ MMBTU ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2007 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ที่ระดับราคา 2.5 เหรียญสหรัฐต่อ MMBTU ทั้งนี้แม้ว่าอินโดนีเซียจะมีปริมาณก๊าซเพียงพอต่อความต้องการใช้ แต่ยังคงต้องปรับปรุงและพัฒนา การแจกจ่ายก๊าซในประเทศเพื่อป้องกันการขาดแคลนในบางพื้นที่

การลงทุนในภาคธุรกิจไฟฟ้า
ธุรกิจในอุตสาหกรรมไฟฟ้าของอินโดนีเซียจะกำหนดในกฎหมายเลขที่ 30 ปี 2009 โดยกฎหมายได้มีการกำหนดในหลายเรื่อง อันได้แก่ ประเภทของธุรกิจการดำเนินการในธุรกิจไฟฟ้า สิทธิและข้อปฏิบัติสำหรับผู้ถือใบอนุญาตและผู้บริโภค รวมถึงราคาจำหน่ายไฟฟ้า
ธุรกิจไฟฟ้าจะรวมถึงประโยชน์ของภาคเอกชน และประโยชน์สาธารณะ สำหรับประโยชน์ของภาคเอกชน ได้แก่ การกำเนินพลังงาน การส่งและการจำหน่ายพลังงานส่วนประโยชน์สาธารณะจะรวมถึงการกำเนิดพลังงาน การแจกจ่ายและการขายพลังงาน
ธุรกิจไฟฟ้าจะเปิดให้ภาคเอกชนดำเนินการได้ อย่างไรก็ดี การดำเนินการสำหรับประโยชน์สาธารณะนั้นจะพิจารณาให้สิทธิแก่รัฐวิสาหกิจก่อนหรือให้บริษัทที่หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น (BUMD) เป็นเจ้าของก่อน สำหรับราคาจำหน่ายไฟฟ้าและการเช่าเครือข่ายนั้น จะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอินโดนีเซีย
ต้นทุนที่เกี่ยวกับการลงทุนในอินโดนีเซียไฟฟ้า
ในอินโดนีเซีย ไฟฟ้าจะจำหน่ายจากบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State owned Electricity Company: PLN) ซึ่ง PLN จะสร้างกระแสไฟฟ้าโดยผ่านโรงพลังงานสาขา (Subsidiary Indonesia Power) และมีการซื้อพลังงานจากผู้ผลิตพลังงานอิสระด้วย (IPP)
ระบบค่าไฟฟ้าในอินโดนีเซียที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นการจัดระบบมาตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา เลขที่ 89 โดยแบ่งค่าไฟฟ้าออกเป็น 8 กลุ่ม (ต่อหน้า 82)
ค่าไฟฟ้าสำหรับการใช้งานหลายประเภท ( Multiguna: multi use tariff)
ค่าไฟฟ้าสำหรับการใช้งานหลายประเภทจะกำหนดจากการใช้ของผู้ใช้ไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรม
No. | FAC Tariff | Power Boundary | Load (RP./kVA/ Month) |
Expense of usage(Rp/kWh) |
1 | I-1/LV | To 450 VA | 27 | Block I :0 to 30 kWh:161 Block II : above 30 kWh:435 |
2 | I-1/LV | 900 VA | 33.5 | Block I :0 to 72 kWh:350 Block II : above 72 kWh:456 |
3 | I-1/LV | 1.300 VA | 33.8 | Block I :0 to 104 kWh:475 Block II : above 104 kWh:495 |
4 | I-1/LV | 2.200 VA | 33.8 | Block I :0 to 196 kWh:480 Block II : above 196 kWh:495 |
5 | I-1/LV | Above 2.200 VA to 14 kVA |
34 | Block I :0 to 80 lighting time : 480 Block II : above 80 next lighting time : 495 |
6 | I-2/LV | Above 14 kVA to 200 kVA |
35 | Block WBP = k x 466 Block L WBP = 466 |
7 | I-3/LV | above 200 kVA | 31.3 | 0 to 350 lighting time Block WBP = k x 468 above 350 lighting time, Block WBP = k x 468 Block L WBP = 468 |
8 | I-4/LV | 30.000 kVA and above |
28.7 | 460 |
ค่าไฟฟ้าแบบ Dayamax Plus
ในปี 2005 PLN ได้กำหนดกฎเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมที่เรียกว่า Dayamax Plus ซึ่งจะกำหนดค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงที่ใช้ไฟฟ้ามาก ( peak load time : PLT)
การกำหนดค่าไฟฟ้าแบบ Dayamax Plus นั้น มีเป้าหมายในการที่เป็นการบังคับให้อุตสาหกรรมลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงให้ได้ถึงประมาณ 50% ในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามากคือ 17.00 – 22.00 น. อย่างไรก็ดี การกำหนดค่าไฟฟ้าในลักษณะนี้จะไม่ยุติธรรมกับบางประเภทอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถปรับเวลาการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ สิ่งทอ เหล็ก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
ค่าไฟฟ้าแบบ Bulk Multiguna
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่สามารถจัดอยู่ใน 8 กลุ่มได้จะถูกกำหนดค่าไฟฟ้าแบบ bulk multiguna ในอัตรา 1,340 รูเปีย/กิโลวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา( Presidential Decree ) เลขที่ 89 ปี 2002

การลงทุนในภาคธุรกิจพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Sector)
อินโดนีเซียมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal power reserves) ประมาณ 40% ของโลก ซึ่งธุรกิจพลังงานความร้อนใต้พิภพนี้ได้เปิดให้กับภาคเอกชนดำเนินการ ซึ่งรวมถึงนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนจะได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยผ่านการประมูล (Tender/Auction) ใบอนุญาตดำเนินธุรกิจพลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นมี 3 ประเภท แยกตามการดำเนินกิจกรรม คือ ใบอนุญาตทำการสำรวจ (Exploration license) ใบอนุญาตศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility study license) และใบอนุญาตในการใช้ประโยชน์จากพลังงาน (Exploitation license) โดยระยะเวลาของใบอนุญาตแต่ละประเภทเป็นดังนี้
- ใบอนุญาตทำการสำรวจ มีระยะเวลา 3 ปี และสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี
- ใบอนุญาตศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ มีระยะเวลา 2 ปี หลังจากที่ทำการสำรวจเสร็จสิ้น
- ใบอนุญาตใช้ประโยชน์จากพลังงาน มีระยะเวลา 30 ปี นับจากวันสิ้นสุดการสำรวจและขยายเวลา

การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกษตร และการบริการ
การลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรและการบริการ มิได้มีกฎระเบียบในรายละเอียดเหมือนกับภาคธุรกิจอื่นที่กล่าวมาแล้ว โดยจะมีกฎระเบียบที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจนี้ในกฎหมายการลงทุน เลขที่ 25 ปี 2007 เช่น เรื่องใบอนุญาต การอำนวยความสะดวกในการลงทุน และหลักในเรื่องการระงับข้อพิพาท เป็นต้น การให้ความสำคัญกับประเภทธุรกิจ (Priority)
ปัจจุบันได้มีอุตสาหกรรมหลายประเภทที่อยู่ในรายการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ อุตสาหกรรมแปรรูป สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า กระดาษและสิ่งพิมพ์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ซีเมนต์ แร่ที่ไม่ใช่โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า และอุปกรณ์การขนส่ง เครื่องจักรและเครื่องมือ เป็นต้น
ทำเลที่ตั้ง (Location)
ทำเลที่ตั้งสำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจะมีที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Area: KEK) ซึ่งจะมีการอำนวยความสะดวกให้แก่การลงทุน อันได้แก่ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก

การลงทุนทางอ้อม (Indirect Investment)
การลงทุนทางอ้อม คือ การลงทุนโดยผ่านตลาดทุนในอินโดนีเซีย โดยการถือหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนต่าง ๆ (Mutual fund) โดยในอินโดนีเซียการลงทุนทางอ้อมก็คือการค้าหุ้นในตลาดหุ้นของอินโดนีเซีย (Indonesia Stock Exchange) การค้าหุ้นและพันธบัตรจะมีการซื้อขายผ่านนายหน้า (Brokers) สำหรับการลงทุนในกองทุนจะซื้อขายผ่านผู้จัดการเงินกองทุน
ประเภทของนายหน้าค้าหลักทรัพย์ | จำนวน |
Broker FITS | 30 |
Broker derivative | 20 |
CTP participant | 109 |
จำนวนนายหน้าทั้งหมดที่จดทะเบียน | 120 |

น้ำ
น้ำในประเทศอินโดนีเซียนั้นจะหมายความรวมถึงน้ำใต้ดิน (Ground water) และน้ำดื่ม (Drinking water) จากบริษัทจำหน่ายน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรัฐวิสาหกิจ คือ Perusahaan Daerah Air Minum (PDAM) อัตราค่าน้ำใต้ดินและน้ำดื่มจาก PDAM จะไม่ใช่อัตราเดียวกันในทุกที่ แต่จะขึ้นกับนโยบายของแต่ละท้องถิ่นหรือขึ้นกับบริษัทผู้จำหน่ายน้ำ สำหรับในกรุงจาการ์ตา บริษัททีดำเนินการในเรื่องน้ำดื่มก็คือ PT. Aerta and PAM Lyonaise Jaya (Palyja) อัตราค่าน้ำในกรุงจาการ์ตาจะไม่ใช่อัตราเดียวกันทั้งหมด แต่จะขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งอัตราค่าน้ำจะกำหนดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด (provincial governor) โดยอัตราค่าน้ำต่ำสุดคือ 3,275 รูเปียต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามที่จะลดการใช้น้ำใต้ดิน เช่น โดยใช้การเก็บภาษีซึ่งภาษีค่าน้ำใต้ดินในกรุงจาการ์ตาเพิ่มขึ้นจาก 525 รูเปียต่อลูกบาศก์เมตร เป็น 8,800 รูเปียต่อลูกบาศก์เมตร ตามกฎของผู้ว่าราชการ ฯ เลขที่ 37/2009
ที่ดินราคาที่ดินจะมีความเตกต่างหลากหลายมากซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการได้แก่ ทำเล ความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน ความสะดวกในการคมนาคม และความหนาแน่นของชุมชน เป็นต้น ที่ดินที่มีทำเลใกล้ใจกลางเมืองและมีความเจริญมากก็จะมีราคาสูงสำหรับประเภทของพื้นที่หรือย่านของที่ดินนั้นก็จะมีหลายประเภท เช่น ย่านสำนักงาน ย่านธุรกิจ ย่านที่อยู่อาศัย และย่านอุตสาหกรรม เป็นต้น สำหรับทีดินที่การคมนาคมสะดวก เช่น อยู่ใกล้กับถนนหลวงทางด่วน ก็จะมีราคาสูง ราคาที่ดินในกรุงจาการ์ตาโดยทั่วไปแล้วก็จะมีราคาสูงกว่าที่ดินในเมืองอื่นของประเทศ โดยจะมีราคาสูงกว่าเมืองอื่นประมาณ 10 -20 %
ราคาที่ดินแยกตามประเภทของพื้นที่ในกรุงจาการ์ตา ปี 2009
พื้นที่/ย่าน | ราคาต่อตารางเมตร (เหรียญสหรัฐ/ตารางเมตร) |
ย่านใจกลางธุรกิจและสำนักงาน | 1,700 – 3,000 |
ย่านทีอยู่อาศัย | 300 – 1,000 |
ย่านการค้า | 1,000 – 2,000 |
ย่านอุตสาหกรรม | 35-37 |
สินทรัพย์และอาคาร
ราคาและค่าเช่าอาคารนั้นจะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ทำเลที่ตั้ง ความสะดวกการคมนาคม เป็นต้น โดยอาคารที่ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ ย่านที่ตั้งสำนักงาน ย่านธุรกิจ หรือใจกลางการค้าก็จะมีราคาสูง ซึ่งราคาและค่าเช่าอาคารในกรุงจาการ์ตาจะมีราคาสูงกว่าในเมืองอื่นประมาณ 10%
ราคาและค่าเช่าอาคารและสินทรัพย์ในกรงจาการ์ตาและในเขตปริมณฑล
ชนิดของอาคาร/สินทรัพย์ | ราคา |
ค่าเช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน (ต่อตารางเมตรต่อเดือน) | 15.4 – 16.5 เหรียญสหรัฐ |
ค่าเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานการค้า (ต่อตารางเมตรต่อเดือน) | 660,000 รูเปีย |
ราคาขายคอนโดมิเนียม (ต่อตารางเมตร) | 12.2 ล้านรูเปีย |
ค่าเช่าอพาทเมนท์ (ต่อตารางเมตรต่อเดือน) | 15.6 เหรียญสหรัฐ |
อัตราค่าห้องพักโรงแรมห้าดาว (ต่อคืน) | 150 เหรียญสหรัฐ |
อัตราค่าห้องพักโรงแรมสี่ดาว (ต่อคืน) | 50 เหรียญสหรัฐ |
โกดังสินค้า (ต่อตารางเมตรต่อเดือน) | 35,000 รูเปีย |
การขนส่งทางบก
การขนส่งทางบกสาธารณะของอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งโดยรถประจำทางและรถแท็กซี่
ค่าโดยสารรถแท็กซี่ในกรุงจาการ์ตาและในเมืองใหญ่อื่น ๆ ของอินโดนีเซีย
ระดับ | ค่าโดยสารเริ่มต้น | ค่าโดยสารเพิ่มคิดต่อ ก.ม. | ค่ารอ (อัตราต่อ ช.ม.) |
ชนิดและยี่ห้อรถ |
มาตรฐาน | 6,000 รูเปีย | 3,000 รูเปีย | 30,000 รูเปีย | โตโยต้า VIOS |
ระดับสูง | 7,000 รูเปีย | 4,000 รูเปีย | 60,000 รูเปีย | เมอร์เซเดรส เบนซ์ E-Class |
ค่าธรรมเนียมกฎหมาย/จดทะเบียน (Notorial fee)
การบริการในเรื่องของทะเบียนตามกฎหมายนั้นมีความจำเป็นต่อการทำให้ความตกลงซื้อขายนั้นมีผลตามกฎหมาย ค่าธรรมเนียมกฎหมาย/จดทะเบียนจะประกอบด้วยค่าธรรมเนียมมาตรฐานและค่าธรรมเนียมผันแปร (Variable fee) ซึ่งค่าธรรมเนียมมาตรฐานนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารตามกฎหมายของบริษัท โดยค่าธรรมเนียมประเภทนี้คิดเป็นประมาณ 5 ล้านรูเปียต่อบริษัท สำหรับค่าธรรมเนียมผันแปรจะขึ้นอยู่กับการบริการทะเบียนตามกฎหมาย (Notorial Services) หรือเอกสารราชการในเรื่องที่ดิน (PPAT) ในการดำเนินการให้การขายที่ดินหรือการขายสินค้าหรือที่ดิน ซึ่งอัตราจะกำหนดในกฎหมายเลขที่ 30 ปี 2004 ดังนี้
- 2.5% สำหรับเอกสารราชการของสิ่งที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านรูเปียหรือเทียบเท่า
- 1.5% สำหรับเอกสารราชการของสิ่งที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านรูเปีย แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านรูเปีย ขึ้นกับข้อตกลง แต่ไม่เกิน 1% สำหรับเอกสารราชการของสิ่งที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านรูเปีย
แหล่งข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา