สรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอินโดนีเซีย (ก.ย. 2558 – ปัจจุบัน)

01/08/2016


ชุดที่ วันที่ประกาศ สาขาที่เน้น รายละเอียดมาตรการ
1 9 ก.ย. 2558 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการลดระเบียบ และขั้นตอนต่างๆ (de-bureaucracy) เพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย และการสร้างความแน่นอนในการทำธุรกิจ - รบ. จะปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ 89 ฉบับ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิต อาทิ กฎระเบียบการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าน้ำตาล เกลือ เสื้อผ้า ยางรถยนต์ และไข่มุก การยกเว้นการตรวจลงตราให้แก่ผู้มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเพิ่มเติม การลดขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกน้ำมันปาล์มและสินแร่
การเพิ่มการลงทุนในสาขาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ - รบ. จะสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มโอกาสการลงทุนในสาขาอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ โดยจะแก้ไขกฎระเบียบเพื่ออนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของห้องชุดระดับหรู และจะแก้ไขอัตราราคาห้องชุดที่จัดเป็นห้องชุดระดับหรู เพื่อให้ห้องชุดระดับที่ต่ำลงมาไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย
การพัฒนาหมู่บ้าน และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (micro, small and medium enterprises – MSMEs) เพื่อเพิ่มอำนาจในการจับจ่ายของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง - ขยายระยะเวลาการจัดสรรข้าวให้แก่ผู้มีรายได้น้อย จากเดิม 12 เดือน เป็น 14 เดือน

- จัดสรรกองทุนหมู่บ้าน มูลค่า 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่หมู่บ้านเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยตรง

- จัดสรร LPG converter kit ให้แก่ชาวประมง เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง

- พัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้เป็นแหล่งสินเชื่อสำหรับ MSMEs ในต่างจังหวัด นอกจากนี้ รบ. อซ. จะอุดหนุนสินเชื่อของ MSMEs ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลดลงเหลือประมาณร้อยละ 12 จากอัตราปกติประมาณร้อยละ 22-23
การลดระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านการเงิน และแรงจูงใจทางภาษี - ลดระเบียบในการเปิดบัญชีธนาคารของชาวต่างชาติ โดยสามารถใช้เพียง นสดท. ในการเปิดบัญชีที่มียอดเงินฝากไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ

- การขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (tax holiday) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เครื่องจักร เกษตร ประมง ขนส่ง และน้ำมันและก๊าซต้นน้ำ ที่ลงทุนมากกว่า 71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมากกว่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
2 30 ก.ย. 2558 การส่งเสริมการลงทุน โดยลดขั้นตอนในการขอใบอนุญาต และการยกเลิก/ปรับกฎระเบียบต่างๆ เพิ่มเติมจาก package 1 - ลดเวลาการขอใบอนุญาตการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จากเดิม 8 วัน เหลือ 3 ชม. (สำหรับการลงทุนมูลค่าขั้นต่ำ 1 แสนล้านรูเปียห์ ที่จ้างงาน 1,000 คน เท่านั้น)

- ลดเวลาการขอใบอนุญาตในการลงทุนสาขาป่าไม้จาก 14 วัน ลดเหลือ 6 วัน

- ลดเวลาการขอใบอนุญาตการใช้พื้นที่ป่าสำหรับการสำรวจและการผลิตในสาขาเหมืองแร่และพลังงานความร้อนใต้พิภพ จากเดิมมากถึง 4 ปี เหลือ 15 วัน

- ยกเลิกกฎกระทรวงการค้า 4 ฉบับ อาทิ กฎที่เกี่ยวกับการนำเข้ายางล้อและเครื่องจักร และทบทวน 5 ฉบับ อาทิ การผ่อนปรนข้อจำกัดด้านการนำเข้าในเรื่องเลขประจำตัวผู้นำเข้า และการติดฉลากสินค้าเป็นภาษาอินโดนีเซียบนผลิตภัณฑ์
มาตรการจูงใจทางภาษี - ลดระยะเวลาการยื่นขอ tax allowance และ tax holiday เป็น 25 วัน และ 45 วัน ตามลำดับ

- ยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแก่การผลิตในภาคขนส่ง ได้แก่ การต่อเรือ รถไฟ เครื่องบิน และอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตในประเทศ

- ลดการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากประจำของผู้ส่งออกที่รายงานรายได้จากการส่งออกให้ธนาคารกลาง อซ. ทราบ เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนนำรายได้มาฝากยังธนาคารในประเทศมากขึ้น

- ยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้าชิ้นส่วนอากาศยานและอุปกรณ์ความปลอดภัยทางอากาศยาน
การพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่งของประเทศ - กำหนดพื้นที่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ (bonded logistics zone) 2 แห่ง ได้แก่ Cikarang จ. ชวาตะวันตก และ Merak จ. บันเตน โดยศูนย์ที่ Cikarang เน้นอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ในขณะที่ศูนย์ที่ Merak เน้นการเป็นที่กักเก็บสินค้าของการขนส่งน้ำมัน
3 7 ต.ค. 2558 การลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง - ปรับลดราคาเชื้อเพลิงหลายประเภท ได้แก่
(1) น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซหุงต้มขนาดถัง 12 กก. น้ำมันเบนซินประเภท Pertamax (octane 92) และน้ำมันเบนซินประเภท Pertalite (octane 90) โดยมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 2558 และ
(2) น้ำมันดีเซล ปรับลดลงลิตรละ 200 รูเปียห์ โดยมีราคาขายอยู่ที่ลิตรละ 6,700 รูเปียห์ มีผลตั้งแต่ 10 ต.ค. 2558

- กำหนดราคาก๊าซที่มาจากแหล่งผลิตใหม่ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย ที่ราคา 7 ดอลลาร์สหรัฐ/mmbtu โดยอุตสาหกรรมอื่นๆ จะได้รับการลดราคาก๊าซลงตามลำดับ มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2559

- ลดค่าไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับให้ส่วนลดร้อยละ 30 สำหรับการใช้ไฟฟ้าระหว่างเวลา 23.00 น. ถึง 8.00 น. นอกจากนี้ ยังผ่อนผันให้บริษัทที่จัดเป็น labour-intensive industry สามารถเลื่อนการชำระค่าไฟฟ้าไปเป็นปี 2559 โดยค่าไฟฟ้าที่ผ่อนผันการชำระเงินได้จะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บทั้งหมด
4 15 ต.ค. 2558 กำหนดเกณฑ์การปรับอัตราค่าจ้าง
ขั้นต่ำ
- กำหนดให้แต่ละจังหวัดสามารถปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดของตนได้ ในอัตราเทียบเท่ากับอัตราเงินเฟ้อท้องถิ่น+อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท้องถิ่น (GRDP) เพื่อเพิ่มความแน่นอนให้ภาคธุรกิจ
การช่วยเหลือทางสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กที่เน้นการส่งออก และเน้นการใช้แรงงาน - ให้ธนาคารเพื่อการส่งออก อซ. (LPEI) ปล่อยสินเชื่อโดยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ แก่ธุรกิจขนาดเล็กที่เน้นการส่งออก และเน้นการใช้แรงงาน
5 22 ต.ค. 2558 มาตรการจูงใจทางภาษีในการประเมินราคาสินทรัพย์ (asset revaluation) - ลดอัตราภาษีที่เก็บจากรายได้ จากการประเมินราคาสินทรัพย์ของบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ จากเดิมร้อยละ 10 ลดลงเหลือร้อยละ 3 สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินภายในสิ้นปี 2558 โดยอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการประเมินในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 และเพิ่มเป็นร้อยละ 6 สำหรับครึ่งปีหลังของปี 2559 เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บริษัทและรัฐวิสาหกิจประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่
การยกเลิกการเก็บภาษีซ้อนสำหรับการลงทุนใน Real Estate Investment Trust  
การผ่อนปรนกฎระเบียบเกี่ยวกับธนาคารอิสลาม และสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง  
6 5 พ.ย. 2558 มาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับผู้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 8 เขต ได้แก่

(1) Tanjung Lesung
จ. บันเตน

(2) Sei Mangke
จ. สุมาตราเหนือ

(3) Palu
จ. สุลาเวสีกลาง

(4) Bitung
จ. สุลาเวสีเหนือ

(5) Mandalika
จ. นุสาเตงการาตะวันตก

(6) Morotai
จ. มาลุกุเหนือ

(7) Tanjung Api-Api
จ. สุมาตราใต้ และ

(8) Maloy Batuta Trans Kalimantan
จ. กาลิมมันตันตะวันออก
- ผู้ที่ลงทุนมากกว่า 1 ล้านล้านรูเปียห์ (ประมาณ 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จะได้รับการลดภาษีรายได้ร้อยละ 20-100 เป็นเวลาระหว่าง 10-25 ปี และสำหรับผู้ที่ลงทุนระหว่าง 500 ล้าน – 1 ล้านล้านรูเปียห์ จะได้รับการลดภาษีรายได้ร้อยละ 20 และร้อยละ 15 เป็นเวลา 5-15 ปี โดยอัตราการลดภาษีจะขึ้นกับสัดส่วนการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น

- ยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้าวัตถุดิบหากจำเป็นต้องมีการนำเข้า
การออกกฎระเบียบและลดขั้นตอนในการขอใบอนุญาต เพื่อส่งเสริมการลงทุนและสร้างความแน่นอนทางธุรกิจ - การประกาศกฎระเบียบเพื่ออนุญาตการดำเนินการของบริษัทผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด จนกว่าใบอนุญาต/สัมปทานจะหมดอายุ

- การใช้ระบบออนไลน์สำหรับการขอใบอนุญาตนำเข้ายาและวัตถุดิบในส่วนประกอบในการผลิตยา ซึ่งจะทำให้ลดระยะเวลาการขอใบอนุญาตเหลือเพียง 1 ชม. จากเดิม 6 ชม.
7 4 ธ.ค. 2558 ยกเว้นการเก็บภาษีรายได้แรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก (labor-intensive industries) - แรงงานในอุตสาหกรรม labor-intensive อาทิ สาขาสิ่งทอ รองเท้า ยาสูบ ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่า 50 ล้านรูเปียห์ต่อปี เข้าข่ายการได้รับการยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ โดยมาตรการนี้จะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 2 ปี
ยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่สำหรับผู้ค้าข้างทางที่ดำเนินกิจการในพื้นที่ของรัฐที่กำหนด 34 แห่ง  
8 21 ธ.ค. 2558 ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอะไหล่เครื่องบิน 21 ประเภท
การออกมาตรการจูงใจในการพัฒนาโรงกลั่นน้ำมันของภาคเอกชน - เปิดให้เอกชนสามารถเข้ามาสร้างโรงกลั่นน้ำมันได้โดยตรง จากเดิมซึ่งเปิดให้เพียงบริษัท Pertamina ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือผ่านการเป็นพันธมิตรกับ Pertamina เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงกำหนดให้ผลผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเอกชนดังกล่าวจะต้องขายให้แก่ Pertamina เท่านั้น
นโยบายการบูรณาการแผนที่การใช้ที่ดินของประเทศ (one-map policy) - เพื่อบูรณาการการวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศ เพิ่มความสะดวกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับที่ดินต่าง ๆ
9 27 ม.ค. 2559 ลดต้นทุน/ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ โดยการพัฒนาระบบการบริการและการบริหารท่าเรือ - บูรณาการระบบวางบิลและระบบการชำระเงินให้เป็นระบบ single billing สำหรับบริการท่าเรือที่ดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ

- บูรณาการระบบ National Single Window (ระบบเอกสารการส่งออกและนำเข้า) กับระบบ Inaportnet (ระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าในท่าเรือ)
การบังคับใช้เงินสกุลรูเปียห์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับการขนส่ง - ทบทวนการใช้กฎกระทรวงคมนาคม ที่ 3/2014 ว่าด้วยการใช้เงินสกุลต่างประเทศในการชำระค่าขนส่ง (Transportation Ministry Regulation No.3/2014 on the Use of Foreign Currencies for Transportation Payments) เพื่อบังคับใช้เงินสกุลรูเปียห์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับการขนส่ง
เพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพการบริการในสาขาไปรษณีย์ - ยกเลิกระเบียบกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ 9/2015 ซึ่งระบุให้การบริการไปรษณีย์พาณิชย์ต้องมีราคาสูงกว่าไปรษณีย์ทั่วไป ทำให้ไปรษณีย์อินโดนีเซีย (Pos Indonesia) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีความได้เปรียบคู่แข่งขันอื่นๆ
10 11 ก.พ. 2559 ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

ปกป้อง SMEs ท้องถิ่น และสหกรณ์
- ทบทวน Negative Investment List (ยังไม่ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) โดยมีการเปิด/ขยายสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติในสาขาสำคัญ อาทิ ห้องเย็น ยาง ทางด่วน ภาพยนตร์ e-commerce ร้านอาหาร ในขณะที่จำกัดการลงทุนของต่างชาติใน 20 สาขา และปกป้องธุรกิจขนาดเล็กและ SMEs ท้องถิ่น
11 29 มี.ค. 2559 ลดขั้นตอนและระยะเวลาการส่งออก/นำเข้าสินค้าที่ท่าเรือ เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของประเทศ - ปฏิรูปการจัดการที่ท่าเรือ ประกาศการใช้ Indonesia Single Risk Management เพื่อบูรณาการการออกใบอนุญาตและการตรวจสอบสินค้าที่ท่าเรือภายใต้หน่วยงานเดียว (จากเดิม 18 หน่วยงาน) โดยหวังว่าจะลดระยะเวลาการจัดการที่ท่าเรือ (dwell time) จากเฉลี่ย 4.7 วัน เป็น 3.5 วันในปลายปี 2559
เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม - ขยายฐานลูกค้าสินเชื่อที่รัฐให้การอุดหนุน โดยเน้นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก
ส่งเสริมอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ในประเทศ - ออก roadmap การส่งเสิรมการผลิตเวชภัณฑ์ โดยเน้นที่ 5 สาขา คือ biotechnology, vaccines, herbal extracts, active pharmaceutical ingredients and medical devices โดยรัฐบาลจะลด/ยกเลิกระเบียบที่เป็นอุปสรรคที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากการประกาศใช้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า
12 28 เม.ย. 2559 เพิ่ม ease of doing business - ลดจำนวน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการขอใบอนุญาตต่างๆ ในการจัดตั้งธุรกิจ/การดำเนินธุรกิจลง อาทิ การจัดตั้งธุรกิจ มีขั้นตอนลดลงจาก 12 ขั้นตอนเหลือ 7 ขั้นตอน ระยะเวลาลดลงจาก 47 วัน เหลือ 10 วัน และค่าใช้จ่ายลดลงจากประมาณ 7 ล้านรูเปียห์ เหลือ 2.7 ล้านรูเปียห์
13 24 ส.ค. 2559 อำนวยความสะดวกการก่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย - ลดจำนวน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการขอใบอนุญาตก่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย กล่าวคือ ลดจำนวนใบอนุญาตจาก 33 ชนิด เหลือ 11 ชนิด ลดระยะเวลาในการดำเนินการลงจาก 769-981 วัน เหลือ 44 วัน ลดค่าใช้จ่ายลงประมาณร้อยละ 70
14 10 พ.ย. 2559 ส่งเสริมธุรกิจ e-commerce - ออก E-commerce Roadmap ซึ่งกำหนดแนวการส่งเสริมธุรกิจ e-commerce ของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการให้แรงจูงใจทางภาษี การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ และการคุ้มครองการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ของผู้บริโภค

11 พฤศจิกายน 2559
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา

แหล่งข้อมูล:  สอท. ณ กรุงจาการ์ตา

Back to the list