การส่งเสริม Economic Nationalism ของรัฐบาลอินโดนีเซีย

การส่งเสริม Economic Nationalism ของรัฐบาลอินโดนีเซีย

ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้พยายามส่งเสริม economic nationalism อย่างแข็งขันผ่านการกล่าวถึงในหลายประเด็น ซึ่งในอนาคตอาจเป็นนโยบายภาครัฐ อาทิ


(1) การขอให้รัฐบาลท้องถิ่นเลิกใช้ระบบการชำระเงิน/บัตรเดบิต/เครดิตของ Visa และ Mastercard

และพิจารณาใช้บริการของธนาคารท้องถิ่นหรือระบบของอินโดนีเซียแทน (คือระบบ GPN ซึ่งปัจจุบันใช้กับบัตรเดบิตของบางธนาคารเท่านั้น แม้อินโดนีเซียจะเคลมว่าสามารถ accommodate ระบบบัตรเครดิตได้ก็ตาม) เพื่อลดความเสี่ยงที่ระบบเหล่านี้จะถูกกระทบจากปัจจัยภายนอก และการใช้ระบบของธนาคารท้องถิ่นจะเป็นการส่งเสริมการเติบโตของภาคการเงินอินโดนีเซีย ด้วย


(2) การขอให้ทหาร/ตำรวจ อินโดนีเซีย จัดซื้อยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ผลิตโดยผู้ผลิตในประเทศแทนการนำเข้า


(3) การส่งเสริมให้ชาวอินโดนีเซียใช้บริการสาธารณสุขใน ประเทศ แทนการเดินทางไปรักษาในต่างประเทศ

ซึ่งการพูดย้ำประเด็นนี้อีกครั้งในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งอาจเพราะรัฐบาลอินโดนีเซีย ต้องการตรากฎหมายในลักษณะ Omnibus Law เพื่อปฏิรูประบบสาธารณสุขอินโดนีเซีย โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญคือการเพิ่มบทบาทของรัฐบาลในการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุข แทนการมอบอำนาจให้สภาวิชาชีพ รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุขผ่านการดึงดูด FDI ซึ่งหากได้รับ public sentiment ในเรื่องนี้ก็น่าจะลดเสียงต่อต้านของบุคลากรจำนวนมากที่ไม่เห็นพ้องด้วย


(4) การสั่งการให้ภาครัฐไม่อนุญาตให้นำเข้าเสื้อผ้ามือสองจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศ

โดยที่ผ่านมาชาวอินโดนีเซียนิยมซื้อเสื้อผ้ามือสองจากต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไทย เป็นต้น เนื่องจากเห็นว่ามีคุณภาพที่เหนือกว่าของที่ผลิตในประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ย่อมกระทบ MSMEs จำนวนมากที่จำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง


(5) การประกาศตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยแห่งใหม่ที่ จ. ปาปัวตะวันตก

เพื่อส่งเสริมนโยบาย food security ลดปัญหาขาดแคลนปุ๋ย และลดการนำเข้าวัตถุดิบผลิตปุ๋ยจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้ตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยที่ จ. อาเจาะห์ ซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐวิสาหกิจอินโดนีเซีย




Back to the list