นโยบายประมงของอินโดนีเซีย
นโยบายประมงของอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินของประเทศอย่างยั่งยืนในภาพรวม
เพื่อเร่งพัฒนาความยั่งยืนของระบบนิเวศ และกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคธุรกิจทางทะเลและประมง เนื่องจากอินโดนีเซียมีศักยภาพด้านทรัพยากรสัตว์น้ำมากกว่า 12 ล้านตันต่อปี แต่อัตราการจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยในปัจจุบันอยู่ที่ราว 6 ล้านตันต่อปี โดยมีโครงการสำคัญ 5 โครงการ ได้แก่ การขยายพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล การจัดสรรพื้นที่และโควตาการทำประมง (PIT) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (สินค้าประมงหลักของอินโดนีเซียมี 5 รายการ ได้แก่ กุ้ง สาหร่ายทะเล ปลานิล ปู และกุ้งล็อบสเตอร์) การติดตามและควบคุมพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะขนาดเล็ก และการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังพยายามสร้างความร่วมมือด้านประมงกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เวียดนาม และติมอร์เลสเต ควบคู่ไปกับการดึงดูดการลงทุนในด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปัจจุบันยุโรปเป็นตลาดส่งออกสินค้าสัตว์น้ำอันดับ 1 ของอินโดนีเซีย (ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ของสินค้าที่ผลิตได้) รองลงมาคือจีน (ประมาณร้อยละ 20-30) และญี่ปุ่น (ประมาณร้อยละ 10)
ลำดับ | สินค้าประมง | ส่วนแบ่งตลาดโลก ปี 2565 (ร้อยละ) |
มูลค่าการส่งออก ปี 2566
(ล้าน USD) |
1 | กุ้ง | 6.7 | 60,400 |
2 | สาหร่ายทะเล | 16.4 | 16,700 |
3 | ปลานิล | 9.7 | 13,900 |
4 | ปู | 1.9 | 879 |
5 | กุ้งล็อบสเตอร์ | 0.5 | 7,200 |
ปัจจุบันการเตรียมความพร้อมการนโยบายการจัดสรรพื้นที่และโควตาการทำประมง (PIT) เป็นภารกิจหลักของกระทรวงประมงอินโดนีเซียที่ได้รับการจับตามองจากสาธารณชนและภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างชาติที่ต้องการรับสัมปทาน โดยข้อมูลของโนบายปัจจุบันคือการแบ่งพื้นที่จัดการประมงออกเป็น 6 โซน ดังนี้
โซน | พื้นที่ตั้ง |
711 | น่านน้ำช่องแคบการีมาตา และทะเลนาทูนาเหนือ |
716
717 | ทะเล Sulawesi และตอนเหนือของเกาะฮัลมาเฮรา
อ่าวเชนดราวาซิฮ คาบมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลน้ำลึกมหาสมุทรแปซิฟิก |
715
718 714 | น่านน้ำอ่าวโตมินิ ทะเลมาลูกู ทะเลฮัลมาเฮรา ทะเลเซรัม และอ่าวบีราว
ทะเล Aru ทะเล Arafura และทะเล Timor ตะวันออก น่านน้ำอ่าวโตโล และทะเลบันดา 10 |
572
573 | น่านน้ำมหาสมุทรอินเดียทางจตะวันตกของเกาะสุมาตรา และช่องแคบซุนดา
น่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย ตอนใต้ของเกาะชวาจนถึงตอนใต้ของเกาะนุสาเตงการา ทะเลซาวู ทะเลติมอร์ทางตะวันตก และทะเลน้ำลึกมหาสมุทรอินเดีย |
571 | น่านน้ำช่องแคบมะละกา และทะเลอันดามัน |
712
713 | น่านน้ำทะเลชวา
น่านน้ำช่องแคบมกาซาร์ อ่าวโบเน ทะเลฟลอเรส และทะเลบาหลี |
อย่างไรก็ดี โดยที่ปัจจุบันนโยบายดังกล่าวยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนถึงแนวทาง การดำเนินงาน การจัดการ และแนวทางการแบ่งสรรทรัพยากรธรรมชาติระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประมงรายใหญ่กับรายย่อย ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศเลื่อนการบังคับใช้นโยบายดังกล่าวออกไปเป็นในช่วงต้นปี 2568 เพื่อขยายระยะเวลาการหารือ และสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและศึกษาวิจัยด้านวิชาการต่าง ๆ ประกอบการกำหนดนโยบาย รวมถึงการทดลองดำเนินนโยบายดังกล่าวโดยยังไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ประกอบการ