การออกใบอนุญาตทำการประมงในอินโดนีเซีย
The People Coalition for Justice in Fisheries (KIARA) เตือนรัฐบาลอินโดนีเซียว่าหากยังคงล้มเหลวในการควบคุมการทำการประมงจะส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนปลาอย่างหนักในปี 2015 และได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาระงับการออกใบอนุญาตจับปลาสำหรับเรือประมงขนาดใหญ่ที่มีขนาด 30 เดดเวทตันขึ้นไปเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยครอบคลุมทั้งเรือประมงต่างชาติและเรือประมงของอินโดนีเซียเอง
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในสิบประเทศผู้ผลิตปลามากที่สุดในโลก แต่จากสถิติของ The National Commission on Fish Resource Assessment แสดงให้เห็นว่าปริมาณปลาที่จับได้ในอินโดนีเซียมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน่านน้ำสำคัญ 6 แห่งซึ่งประกอบด้วย (1) the Malacca Straits (2) The South China Sea (3) The Java Sea (4) The Flores Sea (5) The Makassar Straits (6) The Pacific Ocean and the Sulawesi ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาดังกล่าวเกิดจากการลักลอบจับปลาด้วยวิธีการใช้อวนลาก (thrawlers) โดยวิธีการดังกล่าวจะสร้างความเสียหายต่อปะการังและทำให้ปริมาณปลาลดลงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชาวประมงในท้องถิ่นที่ทำการประมงแบบดั้งเดิม
กระทรวงกิจการทางทะเลและประมงอินโดนีเซียอ้างว่า เรือประมงต่างชาติที่ทำการประมงผิดกฎหมายในอินโดนีเซียนั้นมีทั้งประเภทที่ไม่มีใบอนุญาตจับปลาหรือใช้ใบอนุญาตปลอม โดยข้อมูลจากกระทรวงดังกล่าวระบุว่าในปี 2551 มีการยึดเรือประมงต่างชาติผิดกฎหมายได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 186 ลำซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 184 ลำในปี 2550
(คำแปลภาษาไทย อย่างเป็นทางการโดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/1312.php?depid=207