รายงานเศรษฐกิจ ปี 2564

เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 4/2564

1. ขยายตัวร้อยละ 5.02 yoy

ซึ่งนับว่าตรงกับที่ รัฐบาล อินโดนีเซีย เคยคาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจจะเติบโตประมาณร้อยละ 5 หรือมากกว่า รวมทั้งเติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2564 ร้อยละ 1.06 เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 4,498 ล้านล้าน IDR (314 พันล้าน USD) และ GDP ณ ราคาคงที่ (constant price) มีมูลค่า 2,845.9 ล้านล้าน IDR (199.1 พันล้าน USD)


2. ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทาง เศรษฐกิจ ในไตรมาส 4/2564

อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) ธุรกิจบริการสุขภาพ เติบโตร้อยละ 12.16 yoy ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก จากสถานการณ์ COVID-19 (2) ธุรกิจขนส่ง เติบโตร้อยละ 7.93 yoy หลังหดตัวร้อยละ 0.72 ในไตรมาส 3/2564 (3) ธุรกิจการจัดหาไฟฟ้าและก๊าซ เติบโตร้อยละ 7.81 (4) ธุรกิจสารสนเทศและการสื่อสาร เติบโตร้อยละ 6.21 yoy (5) ธุรกิจการค้า เติบโตร้อยละ 5.56 (6) ธุรกิจที่พักและอาหาร/เครื่องดื่มเริ่มกลับมาฟื้นตัว หลังเติบโตในไตรมาสนี้ร้อยละ 4.95 (ไตรมาส 3/2564 หดตัวร้อยละ 0.13) และ (7) ธุรกิจแปรรูป (processing industry) เติบโตร้อยละ 4.92 ซึ่งทำให้เห็นว่าในภาพรวม ไตรมาสที่ 4/64 เป็นช่วงที่ เศรษฐกิจ อินโดนีเซีย เริ่มกลับมาฟื้นตัว อนึ่ง การส่งออกสินค้าและบริการของไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.83


3. การลงทุนในไตรมาส 4/2564

3.1 มีมูลค่ารวม 241.6 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 16.9 พันล้าน USD)

ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2563 ประกอบด้วย (1) การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 122.3 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 8.5 พันล้าน USD) ซึ่งเติมขึ้นจากไตรมาส 4/2563 ร้อยละ 10.1 และ (2) การลงทุนภายใน ปท. (DDI) มูลค่า 119.3 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 8.35 พันล้าน USD) โดยธุรกิจที่มีการลงทุนมากที่สุด (DDI + FDI) 5 อันดับแรก คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน (3) ธุรกิจเหมืองแร่ (4) ธุรกิจขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม และ (5) ธุรกิจด้านไฟฟ้า ก๊าช และน้ำ

3.2 ผู้ที่เข้ามาลงทุนใน อินโดนีเซีย มากที่สุด 5 ลำดับแรกในไตรมาสที่ 4/2564

ได้แก่ (1) สิงคโปร์2.1 พันล้าน USD (ร้อยละ 25.3) (2) ฮ่องกง 1.5 พันล้าน USD (ร้อยละ 17.7) (3) สหรัฐอเมริกา 1.2 พันล้าน USD (ร้อยละ 14.7) (4) จีน 9 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 10.5) และ (5) ญี่ปุ่น 5 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 6.1) ทั้งนี้ ไทยอยู่ในอันดับที่ 12 โดยลงทุนไปประมาณ 80 ล้าน USD

3.3 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 3 อันดับแรก

คือ การผลิตเหล็กกล้าและสินค้าจากเหล็กกล้า เหมืองแร่ และธุรกิจด้านไฟฟ้า ก๊าช และน้ำ

3.4 จังหวัดที่ได้รับการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก (FDI + DDI)

ได้แก่ (1) กรุงจาการ์ตา ร้อยละ 12.7 (2) จ. ชวาตะวันตก ร้อยละ 12 (3) จ. ชวาตะวันออก ร้อยละ 11.1 (4) จ. กาลิมันตันตะวันออก ร้อยละ 6.8 และ (5) จ. มะลูกูเหนือ ร้อยละ 6.3


ที่มา :