รายงานเศรษฐกิจ ปี 2565

สถิติเศรษฐกิจและการลงทุนในอินโดนีเซีย ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565)

1. เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 1/65

1.1 ขยายตัวร้อยละ 5.01 yoy

ซึ่งนับว่าสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ แต่เติบโต น้อยกว่าไตรมาส 4/64 ร้อยละ 0.96 โดยแม้จะเติบโตน้อยกว่าที่ควร อันเป็นผลจากนโยบายห้ามส่งออกถ่านหิน เมื่อเดือน ม.ค. 65 และนโยบายที่บังคับให้มีการลดส่งออกน้ำมันปาล์มในทางอ้อมในเดือน มี.ค. 65 (ก่อนการห้ามส่งออกในช่วงปลายเดือน เม.ย. 65) แต่ยังสามารถคงตัวเลขไว้ที่ร้อยละ 5 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง และการเปิดประเทศมากขึ้นที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถ operate ได้กว้างขวางขึ้น และ รัฐบาลอินโดนีเซียเก็บภาษีได้มากขึ้น และธุรกิจส่งออกที่ยังไปได้ดีจากราคาพลังงาน/อาหารที่สูงขึ้นทั่วโลก โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 309 พันล้าน USD และ GDP ณ ราคาคงที่ (constant price) มีมูลค่า 193.3 พันล้าน USD)

1.2 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางในไตรมาส 1/65

อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) ธุรกิจขนส่งและโกดังเติบโตร้อยละ 15.79 yoy (2) ธุรกิจ ICT เติบโตร้อยละ 7.14 (3) ธุรกิจน้ำและไฟ เติบโต ร้อยละ 7.04 (4) ธุรกิจโรงแรมที่พักและอาหาร/เครื่องดื่ม เติบโตร้อยละ 6.56 (5) ธุรกิจการค้า เติบโตร้อยละ 5.71 และ (6) ธุรกิจแปรรูป (processing industry) เติบโตร้อยละ 5.07 ซึ่งทำให้เห็นว่าในภาพรวมเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 1/65 ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงจากไตรมาส 4/64 แม้จะไม่ได้เป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดก็ตาม อนึ่ง การส่งออกสินค้าและบริการของไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 15.03 yoy

นอกจากนี้ สถิติที่น่าสนใจคือในไตรมาสที่ 1/65 อินโดนีเซียสามารถส่งออกสินค้าประมงได้ 1.53 พันล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.63 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 64 โดยได้รับดุลการค้าในอุตสาหกรรมประมง จำนวน 1.39 ล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.78 yoy รายชื่อประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าประมงสำคัญจากอินโดนีเซีย ได้แก่ (1) สรอ. มูลค่า 727.27 ล้าน USD (2) จีน 214.39 ล้าน USD (3) ญป. 151.62 ล้าน USD (4) ประเทศสมาชิก ASEAN 151.26 ล้าน USD และ (5) EU 78.17 ล้าน USD โดยกุ้งยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของอินโดนีเซีย (ร้อยละ 40.64 ของสินค้าส่งออก)


2. การลงทุนในไตรมาส 1/65

2.1 มีมูลค่ารวม 282.4 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 19.4 พันล้าน USD)

ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 yoy และร้อยละ 16.9 qoq ประกอบด้วย (1) การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 147.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 10.1 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 yoy และ (2) การลงทุนภายในประเทศ (DDI) มูลค่า 135.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 9.32 พันล้าน USD) โดยธุรกิจที่มีการลงทุนมากที่สุด (DDI + FDI) 5 อันดับแรก คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (2) ธุรกิจขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม (3) ธุรกิจเหมืองแร่ (4) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ (5) ธุรกิจด้านไฟฟ้า ก๊าช และน้ำ

2.2 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียมากที่สุด 5 ลำดับแรกในไตรมาสที่ 1/65

ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 3.6 พันล้าน USD (ร้อยละ 34.8) (2) ฮ่องกง 1.5 พันล้าน USD (ร้อยละ 15) (3) จีน 1.4 พันล้าน (ร้อยละ 13.2) (4) ญี่ปุ่น 8 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 8) และ (5) สหรัฐอเมริกา 6 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 6.1) ทั้งนี้ ไทยอยู่ในอันดับที่ 14 โดยลงทุนไปประมาณ 58 ล้าน USD

2.3 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ

การผลิตเหล็กกล้าและสินค้าจากเหล็กกล้า เหมืองแร่ และธุรกิจด้านไฟฟ้า ก๊าช และน้ำ

2.4 การที่อินโดนีเซียได้รับ FDI เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 yoy

ถือเป็นความสำเร็จที่ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียมั่นใจว่าการดึงดูดการลงทุนผ่านนโยบายต่าง ๆ (SEZ G20 ฯลฯ) รวมถึงการประกาศเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ และห้ามส่งออกแร่ดิบที่สำคัญ เป็นการดำเนินนโยบายไปในทิศทางที่ถูกต้อง และจะดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะการแปรรูปแร่และถ่านหินให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นก่อนส่งออก โดยระหว่างการเยือน สหรัฐอเมริกานั้น ประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้พบหารือกับ CEO ของบริษัท Air Products & Chemicals ที่เคย ลงนามใน MoU เกี่ยวกับการลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง Dimethyl Ether (DME) หรือ coal gastification เพื่อเร่งรัดให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซีย โดยเร็ว อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มดิบที่บังคับใช้ในช่วงปลายเดือน เม.ย. 65 ที่ผ่านมา อาจกระทบต่อ การลงทุนของต่างชาติในไตรมาส 2/65 ไม่มากก็น้อย


ที่มา :