รายงานเศรษฐกิจ ปี 2566

สถิติเศรษฐกิจและการลงทุนในอินโดนีเซีย ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566)

1. เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 3/66

1.1 ขยายตัว 4.94% yoy (หรือ 1.60% qoq)

ทั้งนี้ GDP (at current price) มีมูลค่า 5,296 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 337.08 พันล้าน USD) และ GDP (at constant price) มีมูลค่า 3,124.9 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 198.90 พันล้าน USD)

1.2 ปัจจัยสำคัญของการขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย

ตลอดมาคืออุปสงค์ในประเทศ และการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนจากตลาดขนาดใหญ่และความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย (คิดเป็น 52.62% ของ GDP structure เพิ่มขึ้น 5.06% yoy ในไตรมาส 3/66)

1.3 1.3 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีส่วนส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาส 3/66 อย่างมีนัยสำคัญ มีรายละเอียดตามตาราง

ที่

อุตสาหกรรม

สัดส่วน

การขยายตัว (YoY)

1.

อุตสาหกรรมแปรรูป

18.75 %

5.20 %

2.

เกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง

13.57 %

1.46 %

3.

การค้าส่ง ค้าปลีก

12.96%

5.08%

4.

เหมืองแร่

10.18%

6.95 %

5.

ธุรกิจก่อสร้าง

9.86 %

6.39 %

6.

การขนส่งและโกดังสินค้า

5.98 %

14.74 %

7.

ICT

4.22 %

8.52 %

8.

ธุรกิจด้านการเงิน (financial services)

4.06 %

5.24 %

9.

Government Administration

3.3 %

-6.23 %

10.

ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร/เครื่องดื่ม

2.51 %

10.90 %

11.

ธุรกิจการศึกษา

2.90 %

-2.07 %

12.

อสังหาริมทรัพย์

2.40 %

2.21 %

13.

ธุรกิจด้านสุขภาพและสังคม

1.20 %

2.92 %


2. การลงทุนในไตรมาส 3/66

2.1 มีมูลค่ารวม 374.4 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 23.6 พันล้าน USD)

ขยายตัว +7% qoq / +21.6% yoy ตามลำดับ และสร้างงานให้ชาว อินโดนีเซีย 5.16 แสนคน

2.2 ในไตรมาสนี้ อินโดนีเซีย

ได้รับ (1) การลงทุนจาก ตปท. (FDI) มูลค่า 196.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 12.36 พันล้าน USD) ขยายตัว +5.3% qoq / +16.2% yoy และ (2) การลงทุนภายใน ปท. (DDI) มูลค่า 178.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 11.23 พันล้าน USD) ขยายตัว +9% qoq / +28.2% yoy

2.3 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 5 อันดับแรก

คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ คิดเป็น 24.57% ของ FDI ทั้งหมดในไตรมาสนี้ (2) ธุรกิจเคมีภัณฑ์และยา 10.1% (3) ธุรกิจเหมืองแร่ 10% (4) ธุรกิจการผลิตกระดาษและการพิมพ์ 8.7% และ (5) ธุรกิจด้านคมนาคม โกดังสินค้า และการสื่อสาร 8.2% อนึ่ง พื้นที่ที่ได้รับการลงทุน FDI สูงสุด 5 อันดับแรกคือ ชวาตะวันตก สุลาเวสีกลาง มะลูกูเหนือ บันเติน และกรุงจาการ์ตา

2.4 ผู้ที่เข้ามาลงทุนใน อินโดนีเซีย มากที่สุด 5 ลำดับแรกในไตรมาสที่ 3/66

ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 4.44 พันล้าน USD (2) จีน 1.78 พันล้าน USD (3) ฮ่องกง 1.71 พันล้าน USD (4) ญี่ปุ่น 1.28 พันล้าน USD และ (5) มาเลเซีย 870 ล้าน USD ทั้งนี้ ไทยอยู่ในอันดับที่ 17 (จาก 136 อันดับ) โดยลงทุนไปประมาณ 39.3 ล้าน USD ใน 316 โครงการ