ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศใช้ข้อบังคับทางการเงินใหม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับ Loan to Deposit Rate (LDR)
ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์อินโดนีเซียมี LDR อยู่ที่ร้อยละ 78-100 ซึ่งผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซียเห็นว่า เป็นการเพิ่มบทบาทของธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็น Intermediary ในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการปล่อยเงินกู้ให้ภาคเอกชนมีโอกาสขยายการลงทุน กรณีธนาคารพาณิชย์ที่มี LDR ต่ำกว่าร้อยละ 78 หรือลูงกว่าร้อยละ 100 ธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินทุนสำรองในธนาคารกลางเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ ธนาคารกลางได้กำหนดให้มี transition period เป็นระยะเวลา 6 เดิอนในการให้ธนาคารพาณิชย์ปรับอัตรา LDR ให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น การบังคับใช้บทลงโทษดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 เป็นต้นไป
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 นี้เป็นต้นไป ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มอัตราการฝากเงินทุนสำรองเป็นร้อยละ 8 (จากเดิมร้อยละ 5) เพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อที่สืบเนื่องมาจากอัตราการจัดเก็บค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 15 และราคาข้าวสารที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 นี้เป็นต้นมา สาเหตุที่ใช้มาตรการทางการเงินดังกล่าวแทนการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเนื่องจากธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่มักปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งจะกระทบการขยายตัวของการลงทุนในอนาคตได้ (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ประกาศให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 6.5)
สถานการณ์ปัจจุบันปัจจุบันธนาคารพาณิชย์หลักของอินโดนีเซียจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Bank Mandiri, Bank Central Asia (BCA), Bank Negara Indonesia (BNI) และ Bank Tabungan (BTN) ยังคงมี LDR ในระดับที่ยังไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้กำหนด นอกจากนี้ การประกาศใช้ LDR ในอัตราใหม่ยังคงทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มีความลังเลที่จะเพิ่มการจัดสรรเงินกู้ในภาคการผลิตต่างๆ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มีความลังเลที่จะเพิ่มการจัดสรรเงินกู้ในภาคการผลิตต่างๆ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเห็นว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงมีแนวโน้มที่จะจัดสรรเงินกู้เพื่อภาคการบริโภคและภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือหุ้นกู้ของรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่า
ข้อคิดเห็นของสถานเอกอัครราชทูตฯการที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียยงคงตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมาในภาวะที่สถาบันการเงินและนักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ในอินโดนีเซียต่างก็เห็นว่าไม่อาจสามารถแก้ไขภาวะเงินเฟ้อที่กำลังประสบอยู่ในบรรเทาลงในระยะต่อไปได้เนื่องจากยังคงมีปริมาณเงินไหลเวียนเป็นปริมาณค่อนข้างมากในระบบเศรษฐกิจ (อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) นั้น น่าจะมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการของธนาคารกลางอินโดนีเซียที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปีจนครบวาระการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้
โดยที่การประกาศใช้มาตรการทางการเงินตามนัยข้อ 1 และ 2 จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินเพิ่มขึ้นสำหรับการฝากเงินสำรองในธนาคารกลางอินโดนีเซียอาจจะเป็นข้อจำกัดหนึ่งในอนาคตที่จะทำให้การขยายตัวของตลาดสินเชื่อเพื่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในระดับไม่ค่อยสูงนัก ส่งผลให้ภาคเอกชนโดยเฉพาะระดับ Corporate และ SMEs ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียขยายตัวต้องประสบข้อจำกัดในการจัดตั้งหรือขยายขนาดการประกอบธุรกิจได้ อย่างไรก็ดี การขยายตัวของตลาดสินเชื่อเพื่อการบริโภคน่าจะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาภาคการบริโภคในประเทศของอินโดนีเซียมีประมาณร้อยละ 60 ของ GDP อินโดนีเซียอันน่าจะเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภคมากขึ้น
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (16 กันยายน 2553)