สาขาการลงทุนที่รัฐบาลอินโดนีเซียกำหนดให้เป็น top priority และ high priority ในการพัฒนาเมืองหลวงแห่งใหม่ (IKN)
Top priority sectors
- พลังงานหมุนเวียน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการสร้างเมืองหลวงสีเขียว นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ยังต้องการผลักดันให้ IKN ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2045 ซึ่งเร็วว่าเป้าหมายภาพรวมของ ปท. ที่จะ achieve net-zero carbon และใช้พลังงานสะอาดภายในปี ค.ศ. 2060 จึงจำเป็นต้องดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนนี้อย่างเร่งด่วน
- โทรคมนาคม
- การขนส่ง/คมนาคม โดยเน้น EV และขนส่งสาธารณะ
- อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงบ้านพักของเจ้าหน้าที่รัฐ อาคารชุด และบ้านเดี่ยว
- การบำบัดน้ำ
- การกำจัดของเสีย
High priority sectors
- ระบบสาธารณูปการ
- เทคโนโลยี
- สถานพยาบาล
- การพัฒนาย่านธุรกิจ
- สถานศึกษาและการศึกษา
- พื้นที่อุตสาหกรรม
รัฐบาลอินโดนีเซียได้กำหนดโครงการลงทุน/การมีส่วนร่วมมากกว่า 500 โครงการในพื้นที่ศูนย์ราชการของ IKN (core government area) โดยเน้นไปในการสร้าง green open space และพื้นที่ mixed use เป็นหลัก ตามด้วยพื้นที่อยู่อาศัย สถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานพยาบาล รวมถึงสถานที่ประกอบกิจกรรมสันทนาการ
สิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ
มีทั้งในส่วนของการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (อาทิ การให้สิทธิใช้ที่ดิน การใช้แรงงานต่างชาติ การให้ที่พักอาศัย) และสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงเพิ่ม incentives ให้แก่ผู้ลงทุนอย่างเต็มที่ อาทิ การยกเว้นภาษี VAT การให้ tax holiday สูงสุด 30 ปี และการลดภาษีสูงสุด ร้อยละ 350 (“super-tax deduction scheme”) และการขยายใบอนุญาตใช้ที่ดิน ซึ่งอาจสามารถขยายได้ถึง 100 ปี ตามประเภทของการลงทุน ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยืนยันว่าแผนการสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่จะไม่ถูกล้มเลิก เนื่องจากได้มีออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว รวมทั้งมีการดำเนินการและกำหนดงบประมาณไว้แล้ว
ปัญหาหลักของการก่อสร้าง IKN
ในปัจจุบันคือการที่รัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่สามารถ secure การลงทุนได้มากเพียงพอ เนื่องจากนักลงทุนที่แสดงความสนใจส่วนใหญ่เลือกที่จะรอดูท่าทีว่าโครงการดังกล่าวจะมีทิศทางอย่างไร โดยเฉพาะตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ และหลายรายยังไม่เชื่อมั่นในความคุ้มค่าของโครงการมากเพียงพอที่จะลงทุนในเวลานี้ว่าจะใช้เวลาคืนทุน - ได้กำไรนานเพียงพอ โดยเฉพาะในห้วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังถดถอย