สถาบันการเงินในอินโดนีเซีย

หน้าที่พื้นฐานของธนาคารในอินโดนีเซีย คือ การเป็นตัวกลางในการนำเงินฝากจากด้านที่มีเงินส่วนเกิน เพื่อเป็นช่องทางในการจัดสรรเงินให้กับด้านที่ขาดเงินทุน ตามกฎหมายเรื่องการธนาคารในอินโดนีเซีย ธนาคารในอินโดนีเซีย แบ่งเป็น ธนาคารเพื่อการพาณิชย์ และธนาคารท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกันในเรื่องของระบบการเบิกจ่าย และขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน หากแบ่งประเภทของธนาคารตามคำจำกัดความเรื่องการดำเนินงาน ธนาคารในอินโดนีเซียจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ธนาคารที่ดำเนินการเพื่อการแสวงหากำไรหรือดอกเบี้ย และธนาคารที่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อแสวงหาผลกำไรหรือดอกเบี้ย หลักการดำเนินการธนาคารโดยไม่ได้แสวงหากำไรหรือดอกเบี้ยนั้นเป็นไปตามกฎหมายอิสลาม ว่าด้วยการดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ของธนาคาร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของพระผู้เป็นเจ้า Fatwa ขององค์กรอิสลาม ซึ่งธนาคารที่ดำเนินการโดยไม่ได้แสวงหากำไรหรือดอกเบี้ยนั้น มีทั้งที่เป็นธนาคารเพื่อการพาณิชย์ และธนาคารท้องถิ่น

โครงสร้างสถาบันทางการเงินในอินโดนีเซีย (ณ เดือนธันวาคม 2008)
โครงสร้างสถาบันทางการเงินในอินโดนีเซีย

จำนวนธนาคารในอินโดนีเซีย

จำนวนธนาคารในอินโดนีเซียได้ลดลงแต่จำนวนสาขาของธนาคารได้เพิ่มขึ้นในปี 2008 มีทั้งหมด 124 ธนาคาร ลดลงจากปี 2007 ที่มีธนาคารทั้งหมด 130 ธนาคาร แต่จำนวนสาขาของธนาคารรวมทั้งหมดกลับมากขึ้น โดยในปี 2008 มีจำนวนสาขารวม 10,936 สาขา เพิ่มขึ้น 13% จากปี 2007


ธนาคารต่างชาติ

รัฐบาลกลางของอินโดนีเซียอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติเปิดดำเนินการในประเทศได้ ในรูปแบบของการเป็นสาขาในต่างประเทศ หรือสำนักงานตัวแทนในต่างแดน ธนาคารต่างชาติที่เปิดในลักษณะของการเป็นธนาคารสาขาในต่างประเทศนั้น ดำเนินการเต็มรูปแบบเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ขณะที่ธนาคารต่างชาติในรูปแบบของสำนักงานตัวแทนในต่างแดนนั้นจะดำเนินการเสมือนการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างธนาคารในสำนักงานใหญ่ และลูกค้าในประเทศอินโดนีเซีย หรือการเป็นตัวแทนในการส่งเสริมหรือสนับสนุนธนาคารต่างชาตินั้น ๆ เท่านั้น


ธนาคารที่มีผลกำไรมากที่สุดในอินโดนีเซียในปี 2008

ธนาคาร BRI เป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อมากที่สุด และสามารถดำเนินการมีผลกำไรสูงที่สุด ในอินโดนีเซีย ในปี 2008 เป็นธนาคารของรัฐสามารถทำกำไรได้ 4.02 ล้านล้านรูเปีย ธนาคารอื่น ๆ ที่สามารถทำกำไรสูง รองลงไป คือ BCA และ Bank Mandiri คิดเป็น 3.99 และ 3.95 ล้านล้านรูเปีย

ตารางที่ 10.3
ผลประกอบการของธนาคารในอินโดนีเซีย ช่วงปี 2003-2008
ธนาคาร กำไร/ขาดทุน
Bank Mandiri 3,953,196
Bank Central Asia 3,999,501
Bank Rakyat Indonesia 4,024,724
Bank Negara Indonesia 832,290
Danamon 1,763,117
Bank Pan Indonesia 671,540
CIMB Niaga 624,096
Bank Internasional Indonesia 392,260
Permata 383,888
Citibank N.A. 1,148,069
Bank Tabungan Negara 316,300
Bank Ekspor Indonesia 212,464
Bank Mega 397,072
Total 18,718,517

ที่มา : ธนาคารแห่งชาติอินโดนีเซีย


แหล่งข้อมูล:  สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา (มีนาคม 2553)

Back to the list