ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัท
บริษัทต่างประเทศทุกบริษัทที่มีแผนจะดำเนินการลงทุนในอินโดนีเซีย จะต้องยื่นขอใบอนุญาตการลงทุนจาก Investment Coordinating Board ของอินโดนีเซีย (BKPM) โดย BKPM จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและออกใบอนุญาตในการลงทุนสาขาต่างๆ เช่น การธนาคาร การเงิน พลังงานและเหมืองแร่ บริษัทต่างชาติที่จะยื่นขอใบอนุญาตการลงทุนได้จะต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ และต้องชำระเงินลงทุนแล้วไม่ต่ำกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตการลงทุนได้ที่
สถานทูตอินโดนีเซียในต่างประเทศได้
ก่อนการขอรับใบอนุญาตการลงทุน นักลงทุนต่างชาติจะต้องศึกษากฎระเบียบการลงทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน เพราะภาคการลงทุนบางประเภทไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินการ และการลงทุนบางประเภทที่จำกัด อัตราการถือหุ้นหรือความเป็นเจ้าของกิจการของนักลงทุนต่างชาติต้องมีใบอนุญาตพิเศษด้วย
การลงทุนจากต่างประเทศโดยส่วนใหญ่จะต้องมีใบอนุญาตดำเนินธุรกิจอย่างถาวร (Permanent Business Permit- IUT) ซึ่งขั้นตอนการลงทุนจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
(1) ขั้นตอนการอนุมัติการลงทุน (Investment Approval Phase)
การสมัครเพื่อขออนุมัติการลงทุนสามารถที่จะกระทำก่อนการจัดตั้งบริษัทใหม่ หรือจะดำเนินการตั้งบริษัทก่อนการขออนุญาตก็ได้ หากเป็นการลงทุนในเขตปลอดอากร (bonded zone) การยื่นขออนุญาตการลงทุนจะต้องยื่นต่อผู้มีอำนาจในเขตปลอดอากร (bonded zone) นั้นๆ
การขออนุมัติการลงทุนจะใช้เวลาประมาณ 10 วันสำหรับการขออนุมัติเบื้องต้น (Initial Approval: SPPP BKPM) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากที่ได้รับการอนุมัติเบื้องต้นแล้วผู้ลงทุนก็สามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัท (PT) โดยใช้ Indonesian Notary Public ซึ่งจะมีเอกสารจำเป็นที่แสดงว่าได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยกระทรวงยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซีย (Ministry of Justice and Human Rights)
เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว ผู้ลงทุนก็จะได้รับเอกสารประกอบการหรือเอกสารจัดตั้งบริษัท (Notaries document) และจะต้องลงทะเบียนที่อยู่ของบริษัทกับรัฐบาลท้องถิ่นและเทศบาล
นอกจากนี้ นักลงทุนจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ชำระภาษีเพื่อให้ได้เลขทะเบียนผู้เสียภาษี (Tax Payer Registration Number: NPWP) และเลขที่ยืนยันนักธุรกิจผู้เสียภาษี (Taxable Businessman Confirmation Number: NPPKP)
หลังจากที่ดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ผู้ขออนุมัติการลงทุนก็จะได้รับหนังสืออนุมัติการลงทุนถาวรสำหรับการลงทุน (Permanent Approval Letter: SPT) ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถเริ่มลงทุนได้
(2) ขั้นตอนการก่อสร้าง (Phase of Construction)
การบริหารจัดการและใบอนุญาตที่เกี่ยวกับขั้นตอนการก่อสร้างจะเกี่ยวข้องกับ หน่วยงาน 2 หน่วยงานได้แก่
(1) Investment Coordinating Board ของรัฐบาลกลางอินโดนีเซีย (BKPM) ซึ่งทำหน้าที่ออกใบอนุญาตต่างๆ เช่น
- ใบอนุญาตเป็นผู้นำเข้า (Limited Importer License: APIT)
- ใบอนุมัติแผนกำลังคน (RPTKA/TA.01)
- หนังสืออนุมัติศุลกากร (มีรายการสินค้าทุน)
- หนังสืออนุมัติศุลกากร (มีรายการของวัตถุดิบ)
(2) หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งทำหน้าที่ออกใบอนุญาตต่างๆ ได้แก่
- ใบอนุญาตสำหรับทำเลที่ตั้ง (Location Permit) ซึ่งจะออกโดยสำนักงานที่ดินท้องถิ่นจำเป็นสำหรับ land clearing
- โฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินที่มีพื้นที่มากกว่าหรือเท่ากับ 200 เฮกเตอร์จะออกโดยสำนักงานที่ดินท้องถิ่น
สำหรับใบอนุญาต Cultivation Rights Title สำหรับที่ดินที่มีพื้นที่น้อยกว่า 200 เฮกเตอร์จะออกโดยสำนักงานที่ดินจังหวัด - ใบอนุญาต Building Rights Title และใบอนุญาตก่อสร้างจะออกโดยสำนักงานตำบล ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้รับ
ใบอนุญาตต่างๆ แล้ว ผู้ลงทุนอาจเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งต่างๆ ที่ใช้สำหรับการผลิต โดยผู้ลงทุนจะต้องส่งรายงานความคืบหน้าที่การดำเนินกิจกรรมการลงทุนต่อ Investment Coordinating Board ทุก 6 เดือน
(3) ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ (Commercial Phase)
ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตดำเนินธุรกิจถาวร (Permanent Business License: IUT) ซึ่งจะออกให้กับบริษัทเมื่อบริษัทได้ดำเนินการขอใบอนุญาตต่างๆ ครบถ้วนตามที่กำหนด ได้แก่ ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกจากกระทรวงการค้า และแผนกำลังคนจากกระทรวงแรงงาน โดยภายหลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานผู้มีอำนาจ ผู้ลงทุนก็จะได้รับใบอนุญาตดำเนินธุรกิจถาวรซึ่งจะมีผลบังคับใช้ถึง 30 ปีและสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้
เอกสารสำหรับการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจถาวร ได้แก่
- สำเนาเอกสารการจัดตั้งบริษัทจากกระทรวงยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
- สำเนาเอกสารการใช้ประโยชน์บนที่ดินคือ Building Rights Title และโฉนด
ที่ดิน หรือเอกสารการซื้อขายที่ดิน
จากสำนักงานโฉนดที่ดินหรือสำเนาสัญญาการเช่าที่ดิน - หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร พร้อมสำเนา Building Construction Permit หรือเอกสารการซื้อขายอาคาร
- สำเนา Tax Registration Code
- สำเนาใบอนุญาต Hindrance Act และใบอนุญาตสำหรับทำเลที่ตั้ง
- สำเนาการอนุมัติแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Plan: RKL) สำหรับธุรกิจที่ต้องการ Environment Impact Analysis และ/หรือแผนการควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring Plan) สำหรับธุรกิจที่ไม่ต้องการ Environment Impact Analysis
- ใบมอบอำนาจที่มีอากรแสตมป์ 6 พันรูเปียห์สำรหับการขออนุญาตดำเนินการโดยตัวแทน (Proxy)
- สำเนารายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินกิจกรรมการลงทุน
การจัดตั้งบริษัทตัวแทน (Representative Office)
บริษัทต่างประเทศที่เป็นบริษัทตัวแทนที่มิใช่ธุรกิจสาขาการเงินจะต้องจัดตั้งขึ้นเมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธาน Investment Coordinating Board (BKPM) โดยการยื่นขออนุญาตหรือขอความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทตัวแทนนั้น
ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นสำเนารูปแบบการจัดตั้งบริษัทตัวแทนจำนวน 2 ชุดให้แก่หน่วยงาน Investment Coordinating Board
พร้อมเอกสารต่างๆ ดังนี้
- หนังสือคำแถลงของสมาคมบริษัทต่างประเทศที่เป็นตัวแทน
- หนังสือแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจากบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้เสนอให้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารบริษัทตัวแทน
ในต่างประเทศ - สำเนาหนังสือเดินทาง (คนต่างชาติ) หรือสำเนาบัตรประจำตัว (คนอินโดนีเซีย) ผู้ซึ่งจะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารของบริษัทตัวแทนในต่างประเทศ
- จดหมายยืนยันความตั้งใจในการพักอาศัย และการทำงานในตำแหน่งที่เป็นผู้บริหารของบริษัทตัวแทนในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดว่าจะไม่ทำงาน/ธุรกิจอื่นใดในประเทศอินโดนีเซีย
- กรณีที่ผู้บริหารของบริษัทต่างประเทศมิได้ยื่นคำขอเองจะต้องมอบอำนาจให้กับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ (Power Attorney) เป็นผู้ดำเนินการลงลายมือชื่อในคำขอ
แหล่งข้อมูล: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.depthai.go.th