อินโดนีเซียกับต่างประเทศ
การร่วมทุนระหว่างอินโดนีเซียและเกาหลีใต้ในการผลิตเครื่องบินรบ
บริษัท Dirgantara Indonesia (DI) มีแผนจะร่วมทุนกับเกาหลีใต้ในการผลิตเครื่องบินรบรุ่น KF-X โดยฝ่ายอินโดนีเซียจะได้รับเครื่องบินรบแบบดังกล่าวจำนวน 50 ลำเป็นการตอบแทนการลงทุนซึ่งฝ่ายอินโดนีเซียจะรับผิดชอบประมาณร้อยละ 20 ของต้นทุนการผลิต
การร่วมทุนผลิตเครื่องบินรบกับอินโดนีเซียของเกาหลีใต้เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดกับเกาหลีเหนือ บริษัท DI (เดิมชื่อ PT Industri Pesawat Terbang Nurtanio และเปลี่ยนชื่อเมื่อปี ค.ศ. 2000) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1976 ปัจจุบันต่อเฮลิคอปเตอร์และสร้างเครื่องบินกับสเปน และเมื่อคำสั่งซื้อลดลง บริษัทจึงได้เริ่ม subcontract การผลิตชิ้นส่วนออกไปให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ
แหล่งข้อมูล : สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (19 กรกฎาคม 2553)
การเยือนอินโดนีเซียของประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ระหว่างวันที่ 6-9 กรกฎาคม 53
วัตถุประสงค์การเยือนอินโดนีเซียเป็นไปเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียและสวิตเซอร์แลนด์ โดยประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้าพบกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รมว. การค้าอินโดนีเซียและผู้ว่าราชการจังหวัดชวาตะวันออก และนำนักธุรกิจสวิสซึ่งเดินทางมาพร้อมกับประธานาธิบดีสวิสเข้าเยี่ยมชมศูนย์ธุรกิจท้องถิ่นของจังหวัดชวาตะวันออก และร่วม business forum ซึ่ง KADIN อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ
ในพบการพบหารือสองฝ่าย รมว. การค้าอินโดนีเซียได้มีหารือถึง (1) ความจำเป็นของการทำให้การค้าอินโดนีเซียและสวิตเซอร์แลนด์สมดุลขึ้นเนื่องจากอินโดนีเซียเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าสวิตเซอร์แลนด์ในระหว่างที่การค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (อินโดนีเซียขาดดุลการค้ากับสวิตเซอร์แลนด์มูลค่า 259.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2009) (2) วิธีการลดอุปสรรคทางการค้าทวิภาคีเพื่อปรับสมดุลทางการค้า โดยในปัจจุบัน รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้อำนวยความสะดวกทางการค้าต่อสินค้าอินโดนีเซีย อาทิ การให้ GSP ต่อสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกอินโดนีเซียที่ส่งสินค้าไปสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้รับการอำนวยความสะดวกจากกระทรวงการค้า เช่น การออกใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า (3) การถ่ายทอดความชำนาญทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อปรับปรุงภาคการผลิตของอินโดนีเซียให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันว่าจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอินโดนีเซียเนื่องจากอินโดนีเซียเป็นหุ้นส่วนสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต และในความร่วมมือสวิตเซอร์แลนด์กับอินโดนีเซียได้กำหนดให้มี technical cooperation เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงนามคำมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิผล และสภาพการทำงานของ SMEs อินโดนีเซียภายใต้โครงการ Sustaining Competitive and Responsible Enterprise (SCORE) โดยมีองค์การ ILO ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้ประสานงานในการดำเนินโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์เห็นว่า social partnership in workplace เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา SMEs ของอินโดนีเซีย
Head of the Swiss Economic Development Cooperation (SECO) รายงานว่า ภายหลังประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์เยือนอินโดนีเซีย รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เพิ่มการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอินโดนีเซียโดยการจัดสรรเงินจำนวน 60 ล้านฟรังก์สวิสกับอินโดนีเซียสำหรับช่วงปี 2009 – 2012 จนถึงปัจจุบันรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้เงินช่วยเหลือไปแล้ว 20 ล้านฟรังก์สวิสเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการอินโดนีเซียให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
แหล่งข้อมูล : สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (20 กรกฎาคม 2553)