ทิศทางการบริหารงานด้านเศรษฐกิจในอินโดนีเซีย
แนวทางของอินโดนีเซียในด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ
- ทิศทางการบริหารเศรษฐกิจของประเทศภายใต้รัฐบาลชุดใหม่
ปธน. อซ. ได้ประกาศทิศทางการบริหารประเทศภายหลังเข้าดำรงตำแหน่ง ปธน. สมัยที่ 2 (2552-2557) ว่า จะเน้นการบริหารงานด้านเศรษฐกิจเพื่อเร่งอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่จะส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน และสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลมีแผนจะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ฟื้นฟูภาคการเกษตร และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ความได้เปรียบของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศที่มีเป็นจำนวนมากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต
- วาระการบริหารงานด้านเศรษฐกิจ
รัฐบาลใหัความสำคัญในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาด้านการขนส่ง การเกษตร และพลังงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตของประเทศ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 5 การขยายตัวด้านการลงทุนร้อยละ 8.5 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 5 ภายในปี 2553 อย่างไรก็ดี รัฐบาลชุดนี้มีเป้าหมายในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศให้มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้ร้อยละ 7 เมื่อรัฐบาลครบวาระการบริหารประเทศ
- การดำเนินการของรัฐบาล
สร้าง investment climate สำหรับการลงทุนที่ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญเช่น
- การเร่งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ โดยปัญหาในปัจจุบันคือ land acquisition เพื่อให้ได้พื้นที่เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีระยะเวลาดำเนินการล่าช้า
- การจัดตั้งศูนย์ one stop service เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินการลงทุนทางอุตสาหกรรม รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุน (investment climate)
- การพัฒนาระบบ logistics ตามแผน National Logistics Improvement และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลอินโดนีเซียได้ระบุ Economic Corridor แล้วเป็นจำนวน 6 โครงการเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับภูมิภาคสำคัญต่างๆ ของประเทศ และให้สอดประสานกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ดำเนินโครงการเชื่อมโยงเกาะสุมาตราและชวาแล้ว และกำลังพิจารณาดำเนินการในเกาะกาลิมันตันและปาปัวซึ่งมีความยากลำบากในการดำเนินโครงการอยู่
อนึ่ง พื้นที่ดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาระบบ logistics ได้แก่ (1) East Sumatra-North West Java (2) Northern Java (3) Kalimantan (4) Western Sulawesi (5) East Java-Bali-East Nusa Tenggara และ (6) Papua
การค้าระหว่างประเทศ
อินโดนีเซียมีการส่งออกที่ดีขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลเร่งส่งเสริมการส่งออกโดยธนาคาร EXIM อินโดนีเซียจะสนับสนุนผู้ส่งออกอินโดนีเซียเพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ เช่น แอฟริกา และ
ตะวันออกกลาง โดย EXIM จะให้เงินกู้แก่ผู้ส่งออกอินโดนีเซีย โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการนำเข้าวัตถุดิบ และช่วยเหลือคู่ค้าต่างประเทศที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากอินโดนีเซียด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับเงินสนับสนุนในเบื้องต้นจากธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JBIC) และมีแผนที่จะหาเงินสนับสนุนจากออสเตรเลีย จีนและประเทศในอาเซียน
ลู่ทางการค้าและการลงทุนในอินโดนีเซีย
- การลงทุนก่อสร้างเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เช่น พัฒนาท่าเรือ/สนามบิน ถนน โดยรัฐบาลชุด ปัจจุบันพยายามส่งเสริมให้มีการลงทุนแบบ public-private partnership (PPP)
- การลงทุนด้านพลังงาน เช่น
- ถ่านหิน
- น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- พลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ต.ค. 52 เป็นต้นมา บ. PLN ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจผลิตกระแส ไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในประเทศไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคครัวเรือนและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งที่ได้รับกระทบโดยตรง รวมทั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีการอายุการใช้งานมานานชำรุดบ่อยครั้งจึงทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าต้องหยุดชะงักเสมอๆ
- อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าประมง
ตามที่รัฐบาลมีเป้าหมายในปี 2553 ที่จะส่งออกสินค้าแปรรูป ประมงให้ได้มูลค่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และตามกฎระเบียบการทำอุตสาหกรรมอินโดนีเซียที่กำหนด ให้นักลงทุนต่างชาติร่วมลงทุนกับบริษัทท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นได้เรียนรู้และพัฒนาวิธีการ เพิ่มมูลค่าสินค้าประมง
- อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้แก่
- การปลูกอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายเนื่องอินโดนีเซียต้องนำเข้าน้ำตาลปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี และเครื่องจักรสำหรับการผลิตน้ำตาลทรายเก่าและใช้มาตั้งแต่สมัยที่อินโดนีเซียเป็นอาณานิคมของดัตช์
- การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในเสาหลักของการพัฒนาทางการเกษตรของอินโดนีเซีย เพราะ
(1) อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลก และ
(2) การเพาะปลูกไม่ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะ สามารถปลูกได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกต้องใช้hinterland ดังนั้น จึงเป็นการพัฒนาชนบทและเป็นการสร้างงานและรายได้ให้กับแรงงานทักษะต่ำ (low-skilled workers) ในครัวเรือนที่อยู่ห่างไกลพื้นที่เศรษฐกิจ โดยสมาคมปาล์มน้ำมันของอินโดนีเซียได้ประมาณการว่าสามารถทำให้ 1.3 ล้านครัวเรือนหรือประมาณ 5.2 ล้านคนมีงานทำ (ประชากรอินโดนีเซียจำนวน 30 ล้านคนดำรงชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน)
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/1312.php?depid=207