การปรับระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง ภายใต้รัฐบาลนาย Joko Widodo

1. การใช้มาตรการเด็ดขาดต่อเรือประมงต่างชาติที่ทำผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2557 นาย Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวข้องกับนโยบายประมงว่า รัฐบาลจะใช้มาตรการเด็ดขาดต่อเรือประมงต่างชาติที่เข้ามา “ขโมย” ปลาในน่านน้ำ อซ. ซึ่งรวมถึงมาตรการจมเรือดังกล่าวทันที แทนการจับกุมผู้ต้องหา (There is no need to arrest them, just sink them) ซึ่งน่าจะช่วยป้องปรามการกระทำผิดต่อไปได้ โดยจะสั่งการให้กองทัพอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีกระทรวงกิจการทางทะเลและประมง นำนโยบายไปปฏิบัติต่อไป
2. การระงับการออกใบอนุญาตทำประมง (moratorium)
เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2557 กระทรวงกิจการทางทะเลและประมง (Ministry of Marine Affairs and Fisheries) ได้ออกกฎกระทรวงที่ 54/2014 ระงับการออกใบอนุญาตทำประมงแก่เรือประมงต่างชาติขนาดใหญ่กว่า 30 ตันกรอส เป็นระยะเวลา 6 เดือนจนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2558 ตลอดจนทบทวนใบอนุญาตที่ใช้งานอยู่ว่ามีการทำตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และระงับการต่ออายุใบอนุญาตที่หมดอายุในช่วง 6 เดือนหน้านี้ และคาดว่าหลังจากสิ้นสุดช่วง moratorium อาจนำวิธีการประมูลใบอนุญาตทำประมงเข้ามาใช้ การประกาศช่วงเวลาที่อนุญาตให้มีการจับปลา จำนวนเรือประมง ขนาด อุปกรณ์ และบริเวณที่เปิดให้ทำการประมง (zoning)
3. การเพิ่มรายได้จากกิจการประมงที่นอกเหนือจากภาษี
กระทรวงกิจการทางทะเลฯ อยู่ระหว่างการเสนอร่างกฎหมาย (PP) เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ที่ไม่ใช่ภาษี (PNPB) โดยตั้งเป้าการจัดเก็บรายได้ให้ได้อย่างน้อย 127 ล้านล้านรูเปียห์ ภายใน 5 ปี จากเดิมปีนี้เก็บได้ประมาณ 250 พันล้านรูเปียห์ โดยหนึ่งในมาตรการเพิ่มรายได้ดังกล่าว คือ
จากปัจจุบันจัดเก็บที่อัตรา 8,000 รูเปียห์ต่อตันกรอสต่อปี เป็น 200,000 รูเปียห์ต่อตันกรอสต่อปี อย่างไรก็ดี จะยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับเรือประมงขนาดเล็ก (5-10 ตันกรอส) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ชาวประมงท้องถิ่น
(2) มาตรการห้ามเรือประมงต่างชาติขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล (transshipment)
เพราะทำให้สูญเสียรายได้ โดยจะกำหนดให้นำปลาขึ้นท่าและผ่านการแปรรูปก่อน
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (26 พฤศจิกายน 2557)