รายงานเศรษฐกิจ ปี 2553

สถานการณ์เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 2553 ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2553 และการคาดการณ์ในปี 2554

1 การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ผู้ว่าการธนาคารกลาง อซ. เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2553 ประมาณร้อยละ 6 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ เศรษฐกิจที่ขยายตัวมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจาก (1) การบริโภคภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่ง อซ. มีประชากรจำนวนมากและกำลังการซื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น (2) ภาคการลงทุนและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคที่เป็นอุตสาหกรรรมการผลิตซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4 ในปี 2553 (คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นอีกในปี 2554) และเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างก่อให้เกิดการจ้างงานในประเทศอย่างมีนัยสำคัญเพราะรัฐบาล อซ. ได้ประมาณตัวเลขว่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 4 แสนคน อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานในปัจจุบันยังค่อนข้างสูงโดยมีประชากรว่างงานจำนวนประมาณ 8.3 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 7

2. การค้าระหว่างประเทศ

กระทรวงการค้า อซ. เปิดเผยว่า ช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 2553 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสำหรับสินค้าประเภท non oil and gas คิดเป็น 115.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับปี 2552 และดุลการค้าของสินค้าประเภทดังกล่าวเกินดุล 18.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับปี 2552 ดังนั้น จึงคาดว่าในปี 2553 อซ. จะมีดุลการค้าเกินดุลเกือบ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

2.1 การส่งออก

เดือน พ.ย. 2553 เป็นเดือนที่ อซ. ประสบความสำเร็จในการส่งออกมากที่สุด ในประวัติการณ์การส่งออกในรอบเดือนของ อซ. คิดเป็นมูลค่า 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงที่สุด การส่งออกสินค้าประเภท non oil and gas ในเดือนข้างต้นมีมูลค่า 12.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 เพื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 2552 ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลจากการยกระดับศักยภาพการส่งออก การเพิ่มประเภทสินค้าส่งออก การปรับปรุงกำลังการผลิตและการเจาะตลาด ตปท. ใหม่ๆ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ อเมริกาใต้ และแอฟริกา

2.2 การนำเข้า

เช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 2553 มูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภท non oil and gas คิดเป็นมูลค่า 97.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 การนำเข้าส่วนใหญ่เป็น (1) สินค้าประเภทวัตถุดิบและ auxiliary goods ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของยอดการนำเข้าทั้งหมด (2) สินค้าประเภททุน ร้อยละ 19.9 และ (3) สินค้าอุปโภคและบริโภคร้อยละ 7.3 ยอดการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเนื่องจากภาคการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 2553

2.3 การเข้าร่วม World Expo Shanghai ในปี 2553

เอซ. ค่อนข้างประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงและได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมงาน โดยตลอดระยะเวลา 6 เดือนมีผู้เข้าชม pavilion ของ อซ. ประมาณ 8.1 ล้านคนซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3 ล้านคน นอกจากนี้ อซ. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ pavilion และมีการเจรจาธุรกิจที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

3. การลงทุน

การลงทุนในปี 2553 มีมูลค่าประมาณ 200 พันล้านรูเปียห์ (22.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่ง สูงกว่าเป้าหมายการลงทุนที่ Indonesian Investment Coordinating Board (BKPM) ได้กำหนดไว้ 160.1 พันล้านรูเปียห์ การลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2553 เป็นผลจากสถานะของ อซ. ที่เป็น new hot spot สำหรับการลงทุนนอกเหนือจากประเทศในกลุ่ม BRIC ภูมิภาคที่มีนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนใน อซ. มากที่สุด แบ่งตามลำดับ ได้แก่

  1. เอเชีย คิดเป็นร้อยละ 30 โดยญี่ปุ่นลงทุนมากที่สุดร้อยละ 18.4
  2. อาเซียน คิดเป็นร้อยละ 28.3 โดยสิงคโปร์ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 20.8 (ไทยลงทุนร้อยละ 1)
  3. ยุโรป คิดเป็นร้อยละ 13.8 โดยกลุ่มประเทศ EU ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 6.1
  4. ออสเตรเลีย ลงทุนร้อยละ 5.4
  5. อเมริกาเหนือ ลงทุนร้อยละ 3.6 โดยสหรัฐอเมริกาลงทุนมากที่สุดร้อยละ 3.3 ทั้งนี้ ในปี 2554 คาดว่าการลงทุนยังคงจะติดขัดที่ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเร่งรัดการเติบโตทาง ศก. ของประเทศ

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ดำเนินไปด้วยความล่าช้าเนื่องจากติดขัดที่ร่างกฎหมายใหม่เกี่ยวกับ land acquisition ซึ่งรัฐสภา อซ. ยังไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. 2553 ตามที่กำหนดไว้แต่แรกได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลคาดว่าร่างกฎหมายนั้นจะสามารถผ่านการพิจารณาของรัฐสภาภายในครึ่งแรกของปี 2554 ดังนั้น แม้ว่ารัฐบาล อซ. ได้จัดสรร งปม. สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ประมาณร้อยละ 17 เพื่อรองรับโครงการภายใต้ Public - Private Partnership (PPP) โครงสร้างพื้นฐานในปี 2554 ที่จำเป็นต่อการเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ อซ. ในปี 2554 นี้อาจจะพอมีความคืบหน้าบ้าง

นอกจากนี้ รบ. อซ. มีแผนจะดำเนินโครงการ Economic Corridor โดยจะสร้างสะพานเชื่อมเกาะสุมาตราและชวาบริเวณช่องแคบซุนดาซึ่งต้องใช้ งปม. ประมาณ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในขั้นแรกของการดำเนินโครงการและรัฐบาลจะกำหนดพื้นที่ industrial cluster และเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณพื้นที่ของโครงการด้วย

5. ภาคพลังงาน

ในปี 2553 การลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขยายตัวประมาณร้อยละ 58 หรือคิดเป็นมูลค่า 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กำลังการผลิตน้ำมันในปี 2553 ของ อซ. ประมาณ 965,000 บาเรลต่อวัน ส่วนการผลิตก๊าซธรรมชาติปี 2553 ก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขุดเจาะจากหลุม Tangguh ในเขตปาปัว นอกจากนี้ อซ. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่ออุปสงค์ภายในประเทศซึ่งยังคงสูงกว่ากำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานนิวเคลียร์ แต่ในปี 2553 ที่ผ่านมา ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการแต่อย่างใด

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2553 ปธน. อซ. ได้ลงนามในกฎระเบียบใหม่สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2554 โดยกฎระเบียบดังกล่าวจะช่วยผ่อนภาระต้นทุนของนักลงุทนในระหว่างการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งคาดว่าจะลดผลกระทบจากปัญหาการชำระภาษีที่ค่อยข้างสูงในช่วงที่ยังไม่ได้เริ่มการผลิต โดยคาดว่ากฎระเบียบนั้นน่าจะกระตุ้นการลงทุนในส่วน upstream ของอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้

ประเด็นที่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคพลังงานในปี 2554 คือ (1) ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการกระจายผลผลิตจากการขุดเจาะซึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่อง (2) กฎระเบียบที่บังคับให้เรือบรรทุกหรือขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องจดทะเบียนเรือสัญชาติ อซ. ซึ่งนักลงทุนยังคงเห็นว่ายุ่งยากและทำให้การดำเนินโครงการล่าช้า และเริ่มปรากฏข่าวว่าเรือของบริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมันต่างชาติถูกจับเนื่องจากเรือมิได้จดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติ อซ.

6. ภาวะเงินเฟ้อของ อซ.

เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 และในปี 2553 อัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 6.96 ซึ่งสูงว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ให้ไม่เกินร้อยละ 5.3 ภาวะดังกล่าวเกิดจากราคาอาหารหลักที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากครึ่งแรกของปี 2553 สาเหตุที่ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเพราะภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้มีช่วงฤดูฝนในปี 2553 ยาวนานกว่าปกติจึงทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง โดยเฉพาะพริกแดงและข้าวสารซึ่งเป็นอาหารหลักสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศและมีราคาสูงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการ RASKIN เพื่อบรรเทาปัญหาราคาข้าวสารแพงให้กับครัวเรือนยากจนโดยการกระจายข้าวสารปริมาณ 3 ล้านตันให้ครัวเรือนละ 15 กก. ในราคาร้อยละ 35 ของราคาจริงในท้องตลาด

President Direct ของ BULOG ได้เปิดเผยว่า ผลผลิตข้าวตั้งแต่ ก.ค. – ธ.ค. 2553 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.17 ดังนั้น รัฐบาลจึงอนุญาตให้ BULOG นำเข้าข้าวอีก 2 แสนตันในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 เพื่อรักษาปริมาณข้าวใน stock ให้อยู่ในระดับ 1.5 ล้านตันและ BULOG ได้วางแผนจะนำเข้าข้าวอีก 1.23 ล้านตันในอนาคตด้วย อย่างไรก็ดี ตามที่ ก. เกษตร อซ. อ้างว่าประเทศส่งออกข้าวหลายประเทศ เช่น ไทยและเวียดนามอาจจะลดการส่งออกข้าวในปี 2554 อซ. ค่อนข้างเกรงว่าอาจจะส่งผลต่อราคาข้าวในตลาดโลกและอาจส่งผลต่อราคาข้าวในประเทศหาก อซ. ต้องนำเข้าข้าวจาก ตปท. ทั้งนี้ รัฐบาล อซ. ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถบริหารจัดการข้าวและควบคุมราคาในประเทศได้

7. ภาคการเงินและการธนาคาร

ในปี 2553 ธนาคารกลาง อซ. ได้ประกาศบังคับใช้กฎระเบียบทางการเงินใหม่เพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และเพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อ (โทรเลข สอท.ฯ ที่ JKT 797/2553 ลว. 16 ก.ย. 2553) และในปี 2554 ธนาคารกลาง อซ. มีแผนจะออกกฎระเบียบให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศ prime lending rate เพื่อกระตุ้นการแข่งขันด้วย

ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นมา เงินตราต่างประเทศไหลเข้าสู่ อซ. เพื่อหวังผลในการเก็งกำไรอย่างต่อเนื่องและธนาคารกลาง อซ. พยายามใช้โอกาสนี้ในการจูงใจให้มีการลงทุนใน infrastructure เพื่อกระตุ้นการเติบโตทาง ศก. ของประเทศ (โทรเลข สอท.ฯ ที่ JKT 1101/2553 ลว. 21 ธ.ค. 2553) และในปี 2553 อซ. มีเงินตราต่างประเทศสำรองอยู่ประมาณ 99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นระดับสูงสุดในเท่าที่เคยมีมา ธนาคารกลาง อซ. คาดว่าเป็นปริมาณที่สามารถป้องกันเงินทุนต่างประเทศไหลออกได้ นอกจากนี้ ในปี 2553 ค่าเงินรูเปียห์แข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.4

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ในปี 2553 ค่อนข้างดี โดยผลกำไรจากการประกอบการเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 30 การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในปี 2553 ประมาณร้อยละ 22.8 ซึ่งสูงกว่าปี 2552 ธนาคารกลาง อซ. คาดว่าภาคสินเชื่อน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 20 – 24 ในปี 2554 นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ อซ. จะเน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคและ infrastructure ในปี 2554 แต่ปัญหา land acquisition น่าจะกระทบการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อภาค infrastructure ต่อไปหากร่างกฎหมายยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคจะขยายตัวค่อนข้างมาก

8. การบริหารการคลังสาธารณะ

ในปี 2553 รัฐบาล อซ. มีรายได้สูงกว่าเป้าหมายอยู่ร้อยละ 2.2 และมี งปม. ขาดดุลร้อยละ 0.62 ของ GDP (เป้าหมายที่ระบุในการใช้จ่าย งปม. เป็นร้อยละ 2.1) รายได้จากภาษีในภาค non oil and gas ซึ่งได้แก่ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถจัดเก็บได้ร้อยละ 97.4 ของเป้าหมาย รายได้จากภาษีในภาค oil and gas สามารถจัดเก็บได้ร้อยละ 106.3 และภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิตสามารถจัดเก็บได้ร้อยละ 111.6

การใช้จ่าย งปม. ในปี 2553 ยังคงเป็นไปด้วยความล่าช้าด้วยสาเหตุสำคัญ อาทิ

  1. ) กฎระเบียบที่ยังขาดความชัดเจนในการทำ procurement จึงทำให้ จนท. ส่วนท้องถิ่นลังเลในการตัดสินใจจัดซื้อเพื่อดำเนินโครงการเนื่องจากกลัวคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตตรวจสอบ
  2. ร่างกฎหมาย land acquisition ซึ่งยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อย่างไรก็ดี ปธน. อซ. ได้กำชับให้กระทรวงต่างๆ และ ผวจ. ต่างๆ วางแผนการจัดสรรและใช้จ่าย งปม. ให้รัดกุมและเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อให้การใช้จ่าย งปม. กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2554

17 มกราคม 2554
แหล่งข้อมูล: สอท. ณ กรุงจาการ์ตา