รายงานเศรษฐกิจ ปี 2566
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2566 ของอินโดนีเซีย
1. สถิติภาพรวม
- จำนวนประชากร 278.7 ล้านคน
- จำนวนประชากรวัยแรงงาน สำรวจ ณ เดือน ส.ค. 66 มี 147.71 ล้านคน โดยมีอัตราว่างงาน 7.86 ล้านคน (คิดเป็น 5.32% ของจำนวนประชากรวัยแรงงาน)
- อัตราความยากจน 25.9 ล้านคน (คิดเป็น 9.36% ของประชากรทั้งหมด)
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ เดือน ม.ค. 67 ร้อยละ 6
- อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ณ 2 ก.พ. 67 อยู่ที่ 15,750 IDR/1 USD
- จำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 146.4 พันล้าน USD
- อัตราเงินเฟ้อ (ตาม consumer price index) ณ เดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้น 2.57% yoy โดยเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลาง (Bank Indonesia) อยู่ที่ 2.5±1%
- การเติบโตของสินเชื่อ (Loan Growth) ณ เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ 10.38% yoy
2. GDP ในปี 2566 ของอินโดนีเซีย
2.1 ขยายตัว 5.05%
ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ปรับใหม่เล็กน้อย แต่น้อยกว่าเป้าหมายระยะแรกที่เคยตั้งไว้ช่วงต้นปี 66 (5.3%) และน้อยกว่าการขยายตัวในปี 65 อย่างมีนัยสำคัญ (5.31%) โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 20,892.4 ล้านล้าน IDR (1,329.96 พันล้าน USD) GDP (at constant price) มีมูลค่า 12,301.4 ล้านล้าน IDR (783.08 พันล้าน USD) และ GDP per capita มีมูลค่า 75 ล้าน IDR (4,919.7 USD)
2.2 การขยายตัวของธุรกิจ/อุตสาหกรรมหลักในปี 66
มีรายละเอียดตามตารางข้อมูลด้านล่างนี้ ทั้งนี้ สาขาสำคัญที่มีส่วนส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ยังคงเป็นอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป การค้า การเกษตร และเหมืองแร่ ซึ่งล้วนเป็น backbone ตามนโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิขของรัฐบาลชุดปัจจุบัน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการขนส่งและโกดังสินค้ายังมีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้โดยได้รับอานิสงส์จากนโยบายการค้าการลงทุนของรัฐบาล รวมถึงการท่องเที่ยวและขยายตัวของธุรกิจออนไลน์
No. |
Field of Business |
Distribution (%) |
Growth (YoY) (%) |
1. |
Processing Industry |
18.67 |
4.64 |
2. |
Wholesale and Retail Trade; Car and Motorcycle Repair |
12.94 |
4.85 |
3. |
Agriculture, Forestry and Fisheries |
12.53 |
1.3 |
4. |
Mining |
10.52 |
6.12 |
5. |
Construction |
9.92 |
4.91 |
6. |
Transportation & Warehouse |
5.89 |
13.96 |
7. |
ICT |
4.23 |
7.59 |
8. |
Financial Services |
4.16 |
4.77 |
9. |
Government Administration, Defense and Compulsory Social Services |
2.95 |
1.5 |
10. |
Education Services |
2.79 |
1.78 |
11. |
Accommodation and F&B |
2.52 |
10.01 |
12. |
Real Estate |
2.42 |
1.43 |
2.3 การบริโภคภาคครัวเรือนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของ GDP
ดังเช่นที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของประเทศที่มีประชากรจำนวนมากและตลาดใหญ่ และการส่งออกยังคงเป็นสาขาสำคัญที่ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
No. |
Expenditure |
Distribution (%) |
Growth (YoY) (%) |
1. |
Household Consumption |
53.18 |
4.82 |
2. |
Non-Profit Institutions Serving Households Consumption |
1.25 |
9.83 |
3. |
Government Consumption |
7.45 |
2.95 |
4. |
Gross Fixed Capital Formation |
29.33 |
4.4 |
5. |
Inventor Change |
1.19 |
- |
6. |
Export of Goods and Services |
21.75 |
1.32 |
7. |
Export minus Import of Goods and Services |
19.57 |
-1.65 |
3. ภาพรวมการลงทุนในปี 2566
3.1 มีมูลค่ารวม 1,418.9 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 89.83 พันล้าน USD)
เพิ่มขึ้น +17.5% yoy และคิดเป็นร้อยละ 101.3 ของเป้าหมายที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียตั้งไว้สำหรับการดึงดูดเงินลงทุนสำหรับปี 2566 (ตั้งเป้าหมายไว้ 1,400 ล้านล้าน IDR) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จที่สำคัญของรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็น FDI มูลค่า 744 ล้านล้าน IDR (47.1 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้น +54.2% yoy และ DDI มูลค่า 674.9 ล้านล้าน IDR (42.72 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้น +22.1% yoy
3.2 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซีย มากที่สุด 5 ลำดับแรกของปี 66
ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 15.4 พันล้าน USD (2) จีน 7.4 พันล้าน USD (3) ฮ่องกง 6.5 พันล้าน USD (4) ญี่ปุ่น 4.6 พันล้าน USD และ(5) มาเลเซีย 4.1 พันล้าน USD
3.3 ธุรกิจที่ได้รับ FDI + DDI มากที่สุด 5 อันดับแรก
คือ (1) ธุรกิจแปรรูปเหล็กและผลิตสินค้าจากเหล็ก คิดเป็น 14.11% (2) ธุรกิจด้านคมนาคม โกดังสินค้า และการสื่อสาร 11% (3) ธุรกิจเหมืองแร่ 11% (4) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 8.11% และ (5) ธุรกิจเคมีภัณฑ์และยา 7.4%
3.4 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 5 อันดับแรก
คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ คิดเป็น 23.4% ของ FDI ทั้งหมดในปีนี้ (2) ธุรกิจด้านคมนาคม โกดังสินค้า และการสื่อสาร 11.2% (3) ธุรกิจเคมีภัณฑ์และยา 9.6% (4) ธุรกิจเหมืองแร่ 9.4% และ (5) ธุรกิจการผลิตกระดาษและการพิมพ์ 6.8% อนึ่ง พื้นที่ที่ได้รับการลงทุน FDI สูงสุด 5 อันดับแรกคือ ชวาตะวันตก สุลาเวสีกลาง มะลูกูเหนือ กรุงจาการ์ตา และชวาตะวันออก
4. ภาพรวมการค้าระหว่างไทย - อินโดนีเซีย ในปี 2566
4.1 ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ การค้าระหว่างไทย - อินโดนีเซียในปี 66 มีมูลค่า 18,394.44
ล้าน USD หดตัว 7.83% yoy (อซ. เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 10 ของไทยจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก และอันดับ 4 ในอาเซียน) โดยไทยส่งออกไปยัง อซ. มูลค่า 10,043.78 ล้าน USD และนำเข้าจากอินโดนีเซีย มูลค่า 8,350.66 ล้าน USD ทำให้ไทยได้ดุลการค้ารวม 1,693.12 ล้าน USD (เพิ่มขึ้น 134.60% yoy)
4.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 5 อันดับแรก
ได้แก่ (1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (2) น้ำตาลทราย (3) เม็ดพลาสติก (4) ข้าว และ (5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ซึ่งมีมูลค่ารวม 4,749.68 ล้าน USD คิดเป็น 47.29% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังอินโดนีเซีย
4.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินโดนีเซีย 5 อันดับแรก
ได้แก่ (1) น้ำมันดิบ (2) ถ่านหิน (3) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (4) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และ (5) รถยนต์นั่ง มีมูลค่ารวม 4,066.22 ล้าน USD คิดเป็น 48.69% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังอินโดนีเซีย
5. การท่องเที่ยว
ชาวอินโดนีเซียยังคงนิยมไปเที่ยวไทย โดยตัวเลขจาก ททท. ระบุว่าในปี 66 นั้น นักท่องเที่ยวอินโดนีเซียเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในอันดับที่ 13 ด้วยจำนวน 760,938 คน (ม.ค. - ธ.ค. 66) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสถิติในปี 65 (234,328 คน) จนมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียที่เดินทางมาไทยในปี 62 ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 (706,908 คน) อย่างไรก็ดี ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาเที่ยวอินโดนีเซียทั้งปี อยู่ที่ 111,786 คน (ตัวเลขจากสำนักงานสถิติอินโดนีเซีย หรือ BPS)