รายงานเศรษฐกิจ ปี 2566
สถิติเศรษฐกิจและการลงทุนในอินโดนีเซีย ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566)
1. เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 4/66
1.1 ขยายตัว 5.04% yoy
ซึ่งสูงกว่าไตรมาส 3/65 ที่ขยายตัว 4.94% yoy โดยมีแรงหนุนจาก การใช้จ่ายภาคครัวเรือน การท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้เป็นส่วนสำคัญ โดย GDP (at current price) มีมูลค่า 5,298 ล้านล้าน IDR (339.33 พันล้าน USD) และ GDP (at constant price) มีมูลค่า 3,139.6 ล้านล้าน IDR (201 พันล้าน USD)
1.2 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทาง เศรษฐกิจ ในไตรมาส 4/66
อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจขนส่งและโกดังสินค้า เติบโต 10.33% yoy ธุรกิจการจัดหาไฟฟ้าและก๊าซ ขยายตัว 8.68% yoy และธุรกิจที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัว 7.89% yoy ซึ่งทำให้เห็นว่าในภาพรวม การเดินทางและการขนส่ง รวมถึงการท่องเที่ยวของ อินโดนีเซีย ยังไปได้ดี
2. การลงทุนในไตรมาส 4/66
2.1 มีมูลค่ารวม 365.8 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 23.2 พันล้าน USD)
หดตัว -2.29% qoq แต่ขยายตัว +16.2% yoy ตามลำดับ และสร้างงานให้ชาว อินโดนีเซีย 4.57 แสนคน
2.2 ในไตรมาสนี้ อินโดนีเซีย
ได้รับ (1) การลงทุนจาก ตปท. (FDI) มูลค่า 184.4 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 11.69 พันล้าน USD) หดตัว -4.05% qoq แต่ขยายตัว +5.25% yoy และ (2) การลงทุนภายใน ปท. (DDI) มูลค่า 181.4 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 11.5 พันล้าน USD) ขยายตัว +1.79% qoq / +29.94% yoy
2.3 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 5 อันดับแรก
คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ คิดเป็น 25% ของ FDI ทั้งหมดในไตรมาสนี้ (2) ธุรกิจด้านคมนาคม โกดังสินค้า และการสื่อสาร 11% (3) ธุรกิจเหมืองแร่ 9.8% (4) ธุรกิจการผลิตกระดาษและการพิมพ์ 9.3% และ (5) ธุรกิจเคมีภัณฑ์และยา 9.2% อนึ่ง พื้นที่ที่ได้รับการลงทุน FDI สูงสุด 5 อันดับแรกคือ ชวาตะวันตก สุลาเวสีกลาง ชวาตะวันออก มะลูกูเหนือ และกรุงจาการ์ตา
2.4 ผู้ที่เข้ามาลงทุนใน อินโดนีเซีย มากที่สุด 5 ลำดับแรกในไตรมาสที่ 4/66
ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 3.2 พันล้าน USD (2) จีน 1.9 พันล้าน USD (3) มาเลเซีย 1.6 พันล้าน USD (4) ญี่ปุ่น 1.4 พันล้าน USD และ (5) ฮ่องกง 1.3 ล้าน USD