รายงานเศรษฐกิจ ปี 2564

ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2564 ของอินโดนีเซีย

1. สถิติภาพรวม

  • จำนวนประชากร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2564 มีจำนวน 273.87 ล้านคน
  • จำนวนประชากรวัยแรงงาน สำรวจล่าสุด ณ เดือน ส.ค. 2564 มีจำนวน 140.15 ล้านคน โดยมีอัตราว่างงาน 9.10 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 6.49)
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 10 ก.พ. 2565 ร้อยละ 3.5
  • อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ณ เดือน ม.ค. 2565 อยู่ที่ 14,340 IDR/1 USD
  • จำนวนเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือน ม.ค. 2565 อยู่ที่ 141.3 พันล้าน USD
  • อัตราเงินเฟ้อ (ตาม consumer price index) ณ เดือน ม.ค. 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ2.18 yoy โดยเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลาง อินโดนีเซีย (Bank Indonesia) อยู่ที่ร้อยละ 3.0±1
  • การเติบโตของสินเชื่อ (Loan Growth) ณ เดือน ธ.ค. 2564 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 yoy

2. GDP ในปี 2564 ของอินโดนีเซีย

2.1 เติบโตที่ร้อยละ 3.69

ซึ่งนับว่าตรงกับที่รัฐบาลอินโดนีเซียเคยคาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจ จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5 – 4 (ในปี 2563 เศรษฐกิจอินโดนีเซียหดตัวร้อยละ 2.07) โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 16,970.8 ล้านล้าน IDR (1,187.3 พันล้าน USD) และ GDP per capita มีมูลค่า 62.2 ล้าน IDR (4,349 USD)

2.2 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญ

(1) ธุรกิจบริการสุขภาพ เติบโตร้อยละ 10.46 yoy จากสถานการณ์ COVID-19 (2) ธุรกิจสารสนเทศและการสื่อสาร เติบโตร้อยละ 6.81 yoy (3) ธุรกิจด้านไฟฟ้าและแก๊ส เติบโตร้อยละ 5.55 (4) ธุรกิจด้านการจัดหาน้ำสะอาด/สุขอนามัย เติบโตร้อยละ 4.97 และ (5) ธุรกิจด้านการค้า เติบโตร้อยละ 4.65

2.3 พื้นที่สำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตของ GDP ของ อินโดนีเซีย ในปี 64 ได้แก่

(1) เกาะชวา ร้อยละ 57.89 (2) เกาะสุมาตรา ร้อยละ 21.70 และ (3) เกาะกาลิมันตัน ร้อยละ 8.25


3. การได้ดุลการค้าภาพรวม

อินโดนีเซีย ได้ดุลการค้าทั้งหมด 35.54 พันล้าน USD โดยเป็นการได้ดุลการค้าสูงที่สุดในรอบ 15 ปี (การส่งออกทั้งปี 2564 มีมูลค่าร้อยละ 231.54 พันล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 yoy และการนำเข้าทั้งปี 64 มีมูลค่า 196.19 พันล้าน USD เพิ่มขึ้นร้อยละ 39)


4. ภาพรวมการลงทุนในปี 64

4.1 มีมูลค่ารวม 901 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 63 พันล้าน USD)

ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 yoy และมากกว่าเป้าหมายการลงทุนที่รัฐบาลอินโดนีเซีย กำหนดไว้ที่ 900 ล้านล้าน IDR (ร้อยละ 100.1) โดยประกอบด้วย

(1) การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 454 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 31.7 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้นร้อนละ 10 yoy และ (2) การลงทุนจากภายในประเทศ (DDI) มูลค่า 447 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 31.2 พันล้าน USD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 yoy

4.2 ธุรกิจที่มีการลงทุนมากที่สุด (DDI + FDI) 5 อันดับแรก

คือ (1) ธุรกิจเหล็กกล้า การแปรรูปและผลิตสินค้าจากเหล็กกล้าที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน (3) ธุรกิจขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม (4) ธุรกิจด้านไฟฟ้า ก๊าช และน้ำ และ(5) ธุรกิจเหมืองแร่

4.3 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียมากที่สุด 5 ลำดับแรกในปี 64

ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 9.4 พันล้าน USD (ร้อยละ 30.2) (2) ฮ่องกง 4.6 พันล้าน USD (ร้อยละ 14.8) (3) จีน 3.2 พันล้าน USD (ร้อยละ 10.2) (4) สหรัฐอเมริกา 2.5 พันล้าน USD (ร้อยละ 8.2) และ (5) ญี่ปุ่นฃ. 2.3 พันล้าน USD (ร้อยละ 7.3) ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้ลงทุนสูงสุดในลำดับที่ 11 โดยลงทุนไปประมาณ 450 ล้าน USD

4.4 ธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 3 อันดับแรก

คือ การผลิตเหล็กกล้าและสินค้าจากเหล็กกล้า เหมืองแร่ และธุรกิจขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม

4.5 จังหวัดที่ได้รับการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก (FDI + DDI)

ได้แก่ (1) จ. ชวาตะวันตก ร้อยละ 15.1 (2) กรุงจาการ์ตา ร้อยละ 11.5 (3) จ. ชวาตะวันออก ร้อยละ 8.8 (4) จ. บันเตน ร้อยละ 6.4 และ (5) จ. หมู่เกาะเรียว ร้อยละ 5.9


ที่มา :