รายงานเศรษฐกิจ ปี 2564

สถิติเศรษฐกิจและการลงทุนในอินโดนีเซีย ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564)

1. เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 3/64

1.1 GDP ในไตรมาส 3/64 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.51 yoy

(ต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังอินโดนีเซียและธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.5 และร้อยละ 5 ตามลำดับ และลดลงจากไตรมาส 2/ 64 ที่เคยเติบโตร้อยละ 7.07 yoy เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในห้วงเดือน ก.ค. – ส.ค. 64 และการใช้มาตรการ PPKM) โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน (current price) มีมูลค่า 4,325.4 ล้านล้าน IDR และ GDP ณ ราคาคงที่ (constant price) มีมูลค่า 2,815.9 ล้านล้าน IDR ทั้งนี้ เศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโตร้อยละ 3.24 Q-to-Q และตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ย. 64 มีการเติบโตของเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.24 yoy

1.2 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3/64

อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) ธุรกิจบริการสุขภาพ เติบโตร้อยละ 14.06 yoy ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1/64 ที่ร้อยละ 11.62 yoy จากสถานการณ์ COVID-19 (2) ธุรกิจเหมืองแร่ เติบโตร้อยละ 7.78 yoy (3) ธุรกิจสารสนเทศและ การสื่อสาร เติบโตร้อยละ 5.51 yoy (4) การค้า เติบโตร้อยละ 5.16 yoy (5) ธุรกิจแปรรูปสินค้า เติบโตร้อยละ 3.68

1.3 ธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีการหดตัวอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาสนี้

คือ (1) ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า หดตัวร้อยละ 0.72 yoy หลังเติบโตถึงร้อยละ 25.10 yoy ในไตรมาส 2/64 และ (2) ธุรกิจที่พักและอาหาร/เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 0.13 yoy หลังเติบโตถึงร้อยละ 21.58 yoy ในไตรมาส 2/64

1.4 การค้าระหว่างไทย – อินโดนีเซีย ระหว่างเดือน ม.ค. – ก.ย. 64

เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.93 yoy โดยมีดัชนีค่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 82.14

1.4.1 มีมูลค่า 12,613.43 ล้าน USD

โดยไทยส่งออกไปยังอินโดนีเซียมูลค่า 6,462.51 ล้าน USD และนำเข้าจากอินโดนีเซียมูลค่า 6,150.92 ล้าน USD ทำให้ไทยได้ดุลการค้า 311.58 ล้าน USD

1.4.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 5 อันดับแรก ในช่วงเดือน ม.ค. – มิ.ย. 64

ได้แก่ (1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (2) เม็ดพลาสติก (3) เคมีภัณฑ์ (4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล และ (5) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่ารวม 2,898.82 ล้าน USD

1.4.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินโดนีเซีย 5 อันดับแรก ในช่วงเดือน ม.ค. – มิ.ย. 64

ได้แก่ (1) น้ำมันดิบ (2) ถ่านหิน (3) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (4) เคมีภัณฑ์ และ (5) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ซึ่งมีมูลค่ารวม 3,155.30 ล้าน USD


2. การลงทุนในไตรมาส 3/64

2.1 มีมูลค่ารวม 216.7 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 15.17 พันล้าน USD)

ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/63 ประกอบด้วยการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่า 103.2 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 7.23 พันล้าน USD) และการลงทุนภายในประเทศ (DDI) มูลค่า 113.5 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 7.95 พันล้าน USD) ทำให้มูลค่าการลงทุนในห้วงเดือน ม.ค. – ก.ย. 64 อยู่ที่ 659.4 ล้านล้าน IDR (ประมาณ 46.2 พันล้าน USD คิดเป็นร้อยละ 73.3 ของเป้าหมายมูลค่าการลงทุนที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียตั้งไว้สำหรับปี 64 (900 ล้านล้าน IDR หรือประมาณ 62.2 พันล้าน USD) โดยธุรกิจที่มีการลงทุนมากที่สุด (DDI + FDI) 5 อันดับแรก คือ (1) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน (2) ธุรกิจขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม (3) การผลิตเหล็กกล้าและสินค้าจากเหล็กกล้า (4) ธุรกิจเหมืองแร่ และ (5) อื่น ๆ

2.2 พื้นที่ที่มีการลงทุนสูงสุดในไตรมาส 3/64 คือ

(1) จังหวัดชวาตะวันตก คิดเป็นร้อยละ 16 ของทั้งไตรมาส โดยจังหวัดชวาตะวันตกเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามผลักดันให้มีการลงทุนมากขึ้นผ่านการออกกฎหมาย PR 87/2021 และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพิ่มเติม 7 แห่ง ที่ครอบคลุมอุตสาหกรรม ต่าง ๆ อาทิ ประมง ท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์โลจิสติกส์ เมืองการบิน (2) กรุงจาการ์ตา ร้อยละ 11 (3) จังหวัดชวาตะวันออก ร้อยละ 8.3 (4) จังหวัดเรียว ร้อยละ 7.6 และ (5) จังหวัดบันเตน ร้อยละ 6.5

2.3 ผู้ที่เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียมากที่สุด 5 ลำดับแรกในไตรมาสที่ 3/64

ได้แก่ (1) สิงคโปร์ 2.6 พันล้าน USD (ร้อยละ 36.2) (2) ฮ่องกง 9 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 12.1) (3) ญี่ปุ่น 700 ล้าน USD (ร้อยละ 10.1) (4) จีน 6 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 8.4) และ (5) สหรัฐอเมริกา 5 ร้อยล้าน USD (ร้อยละ 7.2) โดยธุรกิจที่ได้รับ FDI มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การผลิตเหล็กกล้าและสินค้าจากเหล็กกล้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เหมืองแร่ การขนส่ง/คลังสินค้า/การสื่อสารโทรคมนาคม

2.4 การลงทุนของไทย

ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในอินโดนีเซียมากเป็นอันดับที่ 15 เป็นมูลค่า 45.3 ล้าน USD สำหรับไตรมาส 3/64 และลงทุนมากเป็นอันดับที่ 11 ในห้วงเดือน ม.ค. – ก.ย. 64 มูลค่ารวม 364.1 ล้าน USD

2.5 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อของภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Managers’ Index (PMI))

ของเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ 57.2 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการจัดเก็บข้อมูลในปี ค.ศ. 2011 โดยมีการผลิตและรับคำสั่งซื้อในธุรกิจและอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในห้วง 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตหลังการระบาดของ COVID-19 ในต้น ไตรมาส 3/64


ที่มา :